วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ย่อบทที่1-3 ศิลปะและวัฒนธรรมตะวันตก

                              บทที่1-3 ศิลปะและวัฒนธรรมตะวันตก

บทที่1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์
        
              บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรในทวีปอาฟริการะหว่าง2,000,000-500,000 ปีมาแล้ว พวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มมนุษย์ผู้ยืนตัวตรง(Homo Erectus) สูงราว 3 ฟุตเศษ มีฟันลักษณะคล้ายฟันของมนุษย์ปัจจุบัน สมองยังเล็ก และรู้จักใช้มือเพื่อทำประโยชน์ต่างๆ รู้จักทำเครื่องมือหินด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อใช้คมในการตัด ฟัน หรือขูด เรียกว่า "ออตราโลพิเธคัส" หรือเรียกอีกชื่อว่า "โฮโมฮาบิลิส" หมายถึง มนุษย์ผู้ถนัดใช้มือ กระจายไปตามส่วนต่างๆของทวีปอาฟริกา แหล่งสำคัญคือ ถ้ำโอลดูเวย์(ประเทศแทนซาเนีย) ค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1959 อายุราว 1,750,000 ปีมาแล้ว
    ดร.หลุยส์ เลคกี ผู้ค้นพบเสนอว่า มนุษย์โฮโมฮาบิลิสมีความก้าวหน้ากว่าบรรพบุรุษซึ่งมีความเป็นอยู่คล้ายวานร คือรู้จักการใช้เครื่องมือและกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มีวิธีจับสัตว์คือ ไล่ต้อนฝูงสัตว์ลงไปในหนองน้ำ แล้วจับตัวอ่อนกิน
    
                  บรรพบุรุษอีกอีกพวกหนึ่งคือ มนุษย์นีแอนเดอธัล(Neanderthal Man) พบหลักฐานที่ถ้ำแอนเดอร์ ใกล้เมืองดุลเซลคอร์ฟ เยอรมนี กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของยุโรปและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ 150,000 ปีมาแล้ว สูงราว 5 ฟุตเล็กน้อย ปริมาณสมองใกล้เคียงกับมนุษย์ในปัจจุบัน รู้จักการล่าสัตว์โดยการใช้ไฟ มีการวางโครงกระดูกและเครื่องมือที่ทำด้วยฟันและกระดูกสัตว์ในหลุมศพ สันนิษฐานว่า มีการประกอบพิธีศพ และอาจมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณอมตะ

   
                 บรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการประมาณหลายหมื่นปีมาแล้วนักมานุษยวิทยาเรียกว่า "มนุษย์สมัยใหม่" หรือ "มนุษย์ฉลาด-Homo Sapiens" มนุษย์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีรูปร่าง ผิวพรรณ ภาษาหรือเชื้อชาติใด ล้วนสืบเชื้อสายมาจากพวกโฮโม เซเปียนส์ มนุษย์โคร-มันยอง(Cro-Magnon) เป็นมนุษย์สมัยใหม่ที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุด โครงกระดูกของมนุษย์โคร-มันยองพบครั้งแรกที่แคว้นเวลส์ในประเทศอังกฤษ มนุษย์โคร-มันยองมีอายุประมาณ 35,000 ปีมาแล้ว จัดเป็นมนุษย์ยุคหินเก่า มีความสูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีปริมาณมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปปัจจุบันและมีอวัยวะคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน รู้จักใช้เครื่องมือหิน กระโหลกศรีษะยาว ใบหน้าสั้น มีความสามารถในการเขียนภาพบนผนังถ้ำ รู้จักเผาพและสักบนใบหน้า มีการแกะสลักหินเป็นรูปหญิงอ้วน เรียกว่า"รูปวีนัส แห่งวิลเลนดอร์ฟ(Venus of Villendorf)" ซึ่งเน้นรูปทรงทางเพศที่แสดงร่องรอยการให้กำเนิดมาแล้วอย่างโชกโชน สูง 11 เซนติเมตร พบที่วิลเลนดอร์ฟ ประเทศออสเตรีย(ราว 25,000-20,000 ปี BC.)


                มนุษย์หินยุคเก่ารู้จักการล่าสัตว์และเก็บพืชพัก ผลไม้กินเป็นอาหาร พึ่งพาธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมเต็มที่ เมื่อฝูงสัตว์และอาหารหมดลงก็ย้ายถิ่นอาศัยติดตามฝูงสัตว์ไป มักอาศัยใกล้ทะเลหรือหนองน้ำ เพื่อหาอาหารและใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
                จิตรกรรมที่ถ้ำลาสโคซ์จัดดยู่ในสมัยหินกลางพบว่าเขียนภาพทั้งด้านข้างและเพดานถ้ำ ถ้ำลาสโคซ์ตั้งอยู่ใกล้มองแตงญักบริเวณลุ่มน้ำดอร์ดอน ในฝรั่งเศส ถูกพบโดยบังเอิญ ค.ศ. 1940 โดยเด็กชายสองคนที่ที่ไปวิ่งเล่นหน้าโพรงถ้ำ จากการกำหนดอายุ พบว่าภาพเขียนดังกล่าวมีอายุประมาณ 15,000-13,000 ปีBC. ภาพวัวไซบัน ม้า กวาง แสดงภาพด้านข้าง คำนึงถึงความจริง ท่าทางเคลื่อนไหว มีทักษะการใช้เส้นที่กล้าหาญ ไม่คำนึงถึงสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับบางภาพ วาดภาพซ้อนทับกัน สันนิษฐานว่าอาจวาดต่างช่วงเวลากัน มีเป้าหมายด้านความเชื่อเหนือเหตุผล
    
                สมัยหินใหม่ มนุษพัฒนามาจากผู้ที่เคยดำรงชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ สู่สังคมเกษตรกรรม เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมชน สมัยหินใหม่ตอนต้น มีการสร้างกระท่อมดินดิบมุงด้วยใบไม้ สร้างเรือโดยเอาท่อนซุงผูกเป็นเรือแคนู เลี้ยงสุนัข เรียนรู้การใช้อาวุธ ป้องกันตัว และทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
               ศิลปะโดดเด่นที่สุดของยุคหินใหม่ คือ อนุสาวรีย์หิน(Megalithic) ซึ่งนำหินขนาดใหญ่มาตั้ง จัดวางลักษณะต่างๆแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบหินตั้ง กับแบบโต๊ะหิน และสามารถแยกย่อยตามลักษณะการตั้งวางได้อีกด้วย
        หินตั้งเดี่ยว เป็นแท่งหินตั้งอย่างโดดเดี่ยว เมนเฮอร์ที่สูงใหญ่ที่สุดอยู่ที่ลอคมารีเก ฝรั่งเศสสูง 64 ฟุต
        หินตั้งเป็นแกนยาว เป็นการตั้งหินเป็นแนวฉากกับพื้นและตั้งเป็นแถวยาวหลายก้อน บางแห่งมีหินตั้งกว่าพันแท่ง เรียงรายกว่า 2 ไมล์
        หินตั้งเป็นวงกลม เป็นการนำหินมาตั้งเป็นวงกลมใหญ่ที่สุดอยู่ที่แอฟบิวรี่ในอังกฤษมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 6 ไมล์
        โต๊ะหิน เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ 3 แท่งหรือมากกว่านั้นวางพลาดทับอยู่ด้วยกันคล้ายโต๊ะยักษ์ หรือประตูที่คนสามารถลอดผ่านไปได้







บทที่2............อารยธรรมในเอเชียไมเนอร์และแอฟริกาเหนือ

           รากเหง้าความเจริญของอารยธรรมตะวันตกในเเอฟริกาเหนือเเละเอเชียไมเนอร์ ก่อต่อขึ้นเมื่อประมาณ 4,000  BC.  ในพื่นที่สำคัญ 2 ภูมืภาค คือ ดินเเดนเเมโสโปดตเมีย (Mesopotemia)  ในลุ่มเเมน้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในเอเชียไมเนอร์ (หรือตะวันออกกลาง) เเละที่อาณาจักรอียิปต์เเห่งลุ่มน้ำไนล์ ในเเอฟริกาเหนือ

ศิลปวัฒนธรรมในดินเเดนเมโสโปเตเมีย


         
          เมโสโปเตเมีย(Mesopotamia) หรือ  "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์"  ได้ชื่อว่าดินเเดนเเห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีอายุเก่าเเก่ที่สุดในโลก
          คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
กลุ่มชนต่างๆที่เคยมีอำนาจเเละสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมเหนือดินเเดนเมโสโปเตเมีย ได้เเก่
  • ชาวสุเมเรียน
  • ชาวอัคคาเดีย (Akkadians)
  • ชาวอมอไรต์ (Amorites)
  • ชาวแอสซีเรียน (Assyrian)

ชาวสุเมเรียน เป็นคนกลุ่มแรกที่มีอำนาจครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส ( Tigris – Euphrates)   ปัจจุบันคือ  ประเทศอิรัก เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอารยธรรมในแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส  ยูเฟรทีส  มีการปกครองแบบนครรัฐ
สภาพภูมิอากาศ     แบบกึ่งทะเลทรายไม่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้งทางธรรมชาติเกิดอากาศวิปริตแปรปรวนอยู่เสมอ สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย จึงมีผลให้พวกเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย เห็นตัวเองเป็นทาสของพระเจ้า    สังคมของชาวสุเมเรียนจึงยกย่องเกรงกลัวเทพเจ้าและถือเป็นหน้าที่หลักของทุกคนที่ต้องรับใช้เทพเจ้า      ความเชื่อดังกล่าวมีผลให้วัฒนธรรมสุเมเรียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา  ชาวสุเมเรียนนิยมสร้างวัดขนาดใหญ่  เรียกว่า    ซิกกูแรต ( Ziggurat )    เพื่อบูชาเทพเจ้า เป็น สถาปัตยกรรมคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่าง ๆ  สร้างด้วยอิฐตากแห้ง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่แวดล้อมด้วยบ้านเรือนและกำแพงเมือง




           ผลงานที่สำคัญ   รู้จักประดิษฐ์อักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม ( Cuneiform)  เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ  แทนความหมายของคำ เพื่อประโยชน์ทางด้านศาสนกิจ  เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุเมเรียน    วรรณกรรม   ที่สำคัญ คือ มหากาพย์กิลกาเมซ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของวีรบุรุษทีแสวงหาชีวิตอมต   มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ รู้จักการใช้จำนวนที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อย   เช่น เลขฐาน6,,60,360,600,3600  รู้จักวิธีคูณ หาร ยกกำลัง ถอดรากกำลังที่สอง และที่สาม การคำนวณหาพื้นที่ของวงกลม การกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด
อาณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonia)

            ชาวบาบิโลเนีย ของชาวอะมอไรต์  อารยธรรมที่บาบิโลเนียได้พัฒนามาจากอารยธรรมของชาวสุเมเรียน ซึ่งมีความเจริญมาก่อนเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว  อาทิ ประมวลกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งยึดหลักเเบบตาต่อตาฟันต่อฟันในการลงโทษ การปกครองของบาบิโลเนียมีลักษณะเเบบศูนย์รวมอำจ  ประมาณ1,200 BC.  อาณาจักรบาบิโลเนีย ถูกชาวคัสไซต์ เเห่งเทอกเขาซากรอสเข้ายึดครองนาน 400 ปี ก่อนจะถูกชาวอัสซีเรียนเข้ามาปกคาองเเทนที่
http://writer.dek-d.com/fern40492/story/viewlongc.php?id=669266&chapter=1

จักรวรรดิอัสซีเรีย  ชาวอัสซีเรียนเป็นนักรบเผ่าเซเมติกกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้อาวุธทำด้วยเหล็กยกทัพเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน สร้างจักรวรรดิอัสซีเรีย มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์   ศิลปะของชาวอัสซีเรียนิยมทำเป็นภาพสลักนูนต่ำเล้าเรื่องชีวิตประจำวันหรือเหตุการณ์สำคัญ ความเจริญสูงสุดด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่ในสมัยพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล โดยมีการรวบรวมเเผ่นจารึกผลงานของราชบัณฑิตไว้ในห้องสมุดเมืองนิเนเวห็มากถึง 20,000 เเผ่น

   
อาณาจักรคาลเดีย  ( Chaidea ) หรือบาบิโลเนียใหม่  
อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์  สามารถยกทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเลม  และกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรงุบาลิโลน มีสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส  และเหนือพระราชวังมีการสร้างสวนขนาดใหญ่ เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลเนีย  ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณเพราะสามารถใช้ความรู้ทางชลประทาน ทำให้สวนลอยเขียวขจีตลอดทั้งปี มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7  วัน      แบ่งวันออกเป็น 12   คาบ   คาบละ 120   นาที สามารถคำนวณเวลาโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีอย่างถูกต้อง  พยากรณ์สุริยุปราคา  ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำเอาความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์ ต่อมาอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของพระเจ้าไซรัสมหาราช เข้ายึดครองและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย 


ศิลปวัฒนธรรมในลุ่มเเม่น้ำไนล์ 
                 อาณาจักรอียิปต์เป็นอาณาจักรที่มีการเริ่มต้นเเละสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมได้ยาวนานเเละมีเอกภาพหลายพันปี เนื่องจากมีความเหมาะสมทางด้านของที่ตั้งอันอุดมสมบูรณ์เเละมีปราการธรรมชาติมั่งคง  ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองต์ ชาวอียิปต์เชื่อว่า เทพเจ้าเป็นผู้เมตตาเเละยกย่องฟาโรห์เสมอเทพเจ้า คำสั่งของฟาโรห์จึงศักดิ์สิทธิ์เเละถือเป็นกฎหมาย ชาวอียิปต์นิยมสร้างปิรามิด เพื่อบรรจุศพเจ้านายเเละขุนนาง เนื่องจากเรื่องการฟื้นคืนชีพเเละชีวิตอมตะ ปิรามิดสำคัญคือ The Great Pyramid of Giza  อุทิศเเด่ฟาโรห์คีออปส์ สูง 150 เมตร
ความเจริญด้านอักษรศาสตร์ของอียิปต์  ชาวอียิปต์ประดิษฐ์อักษรภาพเรียกว่า อักษรไก่เขี่ย หรืออักษรเฮีโรกลิฟฟิก เพื่อบันทึกเรื่องราวของศาสนาเเละวิทยาการ
http://www.thaigoodview.com/node/19886

-----------------------------------------------------------------

บทที่3.............ศิลปะวัฒนธรรมตะวันตกยุคคลาสสิก

ศิลปวัฒนธรรมกรีก
       ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมกรีกย้ายมาสู่นคเอเธนส์ (Athens)  ในแคว้นแอตติกะ สถาปัตยกรรม วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การแพทย์ และปรัชญาเกิดขึ้นในเวลารวดเร็ว  เอเธนส์และนครรัฐกรีกอื่น ๆ ผนึงกำลังเพื่อทำสงครามกับเปอร์เซีย  ผลของสงครามทำให้เอเธนส์กลายเป็นผู้นำรัฐต่าง ๆ ของกรีกรอบทะเลอีเจียน มีความเจริญสูงสุดจนเรียกว่า ยุคทองแห่งเอเธนส์   ความมั่งคั่งของเอเธนส์ได้นำเข้าสู่สงครามเพโลพอนนีเซียน ( Pelonnesian  War 431 – 404  ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นสงครามระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา เนื่องจากขณะนั้นสปาร์ตาเป็นนครรัฐทหารและเป็นคู่แข่งที่สำคัญในการแย่งชิงอำนาจเพื่อเป็นผู้นำของกรีกสงครามเพโลพอนนีเซียนนำมาสู่ความเสื่อมของนครรัฐกรีก เปิดโอกาสให้มาซิดอน ( Macedon ) อาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่า ขยายอำนาจครอบครองนครรัฐของกรีกในรัชสมัยพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช หรือเรียกว่า ยุคเฮลเลนิสติก ( Hellenistie Age ) กรีกสามารถขยายดินแดนครอบคลุมเอเชียไมเนอร์ เปอร์ซีย  อินเดียในยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองนี้ศิลปวัฒนธรรมของกรีกได้เจริญแพร่หลายไปทั่ว มีการจัดตั้งเมืองอะเล็กซานเดรีย(Alexandria )  ในอียิปต์เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและศิลปวัฒนธรรมกรีก
มรดกที่สำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรมของกรีก

  
 สถาปัตยกรรม  สมัยคลาสสิก เป็นแบบนครรัฐไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข เน้นการสร้างวิหารสำหรับเทพเจ้า  เทพเจ้าของกรีกกับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เชื่อว่าพลังลึกลับที่มีอยู่ตามธรรมชาติสามารถให้คุณและโทษได้ วิหารที่กรีกสร้างไว้บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ นิยมสร้างบนดินหรือภูเขาเล็ก ๆ  เรียกว่า อะครอไพลิส  วิหารที่สำคัญคือ วิหารพาเธนอน ที่อะครอไพลิสในนครเอเธนส์ สร้างด้วยหินอ่อน หลังคาหน้าจั่วมีเสาหินเรียงราย   โครงสร้างได้สัดส่วนและสมดุลกัน และไม่ประดับตกแต่งมากเกินไป แบบก่อสร้างของสถาปัตยกรรมกรีกแตกต่างกันไปตาม
ลักษณะหัวเสา แบ่งออกเป็น 3  ประเภท คือ
แบบดอริก ( Doric ) เป็นแบบดั่งเดิม ตัวเสาส่วนล่างใหญ่และเรียวขึ้นเล็กน้อย ตามลำเสาแกะเป็นทางยาว ข้างบน
มีหินปิดวางทับอยู่ สถาปัตยกรรมแบบดอริกเน้นความงามที่เรียบ แต่ให้ความรู้สึกมั่งคงแข็งแรง วิหารพาร์เธนอนเป็นสถาปัตยกรรมแบบดอริก
แบบไอออนิก ( Ionic )เสามีลักษณะเรียวกว่าแบบดอริก แผ่นหินบนหัวเสาเปลี่ยนจากแบบเรียบมาเป็นม้วนย้อยออกมาสองข้าง มีลักษณะงามแช่มช้อยมากขึ้น
แบบโครินเธียน ( Corinthian )  ดัดแปลงจากไอออนิก ลักษณะเสาเรียวกว่าแบบไดโอนิก หัวเสาตกแต่งเป็นรูปใบไม้ มีความหรูหรามากกว่า 

 ประติมากรรมของกรีกโบราณ
1.       นิยมใช้หินอ่อนในการสลักเสลารูปร่างและเสื้อผ้าให้เหมือนจริง
2.       นิยมสลักรูปทั้งที่เกี่ยวกับศาสนาและชีวิตประจำวันของคนโดยทั่วไป
3.       นิยมแสดงสรีระของมนุษย์ตามธรรมชาติตลอดจนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ  เช่น รูปสลักนักขว้างจักร
จิตรกรรม    ยุคแรก    จิตกรรมบนภาชนะของใช้ต่าง ๆ ที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผา ภาพที่นิยมวาดเป็นรูปสัตว์และคน
สมัยคลาสสิก   รูปวาดและสีพื้นจะสลับสีกัน มีชื่อว่า แจกันลวดลายคนสีแดง  สมัยเฮลเลนิสติก    กรีกได้ค้นพบเทคนิคใหม่ในการวาดภาพประดับฝาผนังขนาดใหญ่โดยใช้หินหรือกระเบื้องสีมาประดับเรียกว่า โมเสก ( mosaic ) มีความคงทนถาวร ภาพโมเสกได้รับความนิยมมาก และได้ถ่ายทอดต่อไปยังโรมัน ความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าของชาวกรีกมีผลต่อการสร้างสรรค์งาน การแสดงละครจะแพร่หลายในสมัยคลาสสิกเป็นบทละครประเภทโศกนาฎกรรม และสุขนาฎกรรม นักแสดงเป็นชายทั้งหมด ทุกคนสวมหน้ากากและมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง ส่งเสียงประกอบ เวทีการแสดงเป็นโรงละครกลางแจ้งมีอัฒจันทร์ล้อมรอมสามารถบรรจุผู้ชมได้ 10,000 คน  วรรณกรรม
 มหากาพย์อิเลียด (Iliad ) และออดิซีย์ ( Odyssey )  ของมหากวีโฮเมอร์ ที่ได้รับการยกย่องในแง่ของโครงเรื่อง ความไพเราะ จินตนาการ ตลอดจนอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม นอกจากนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาและประวัติศาสตร์ ได้แก่ งานประเภทปรัชญานิพนธ์ของโซเครตีส  เพลโต อาริสโตเติล  เฮโรโดตัส และธูซิดิดีส
 อารยธรรมกรีกปรากฏครั้งแรกที่เกาะครีต  ( Crete ) ในทะเลอีเจียน เมื่อประมาณเกือบ 2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  อารยธรรมดังกล่าวเรียกว่า อารยธรรมไมนวน ระยะนี้เรียกว่า สมัยวัง ที่ชาวเกาะครีตหรือพวกครีตันจะใช้ความรู้ความสามารถในการก่อสร้างและขยายวังให้ใหญ่โต วังที่สำคัญคือ วังนอสซัส ก่อสร้างสูงหลายชั้น ประกอบด้วยห้องโถงขนาดใหญ่ มีห้องเก็บน้ำมันมะกอกและเหล้าองุ่นที่บรรจุไหขนาดใหญ่   มีห้องน้ำ  ระบบน้ำประปา  รู้จักระบบชักโครก   ต่อมาเกาะครีตถูกรุกรานจากพวกไมซิเนียน  จากผืนแผ่นดินใหญ่ ทำให้อารยธรรมไมนวนได้รับการเผยแผ่ต่อไป  โดยพวกไมซีเนียนโดยมีศูนย์กลางความเจริญที่ไมซิเนแทน  กลายเป็นอารยธรรมไมซิเนมีอายุยาวนานก่อนถูกพวกอดเรียน ( Dorian)   ซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่าหนึ่งเข้ารุกรานพวกดอเรียนได้ปล้นสะดมเผาผลาญทำลายบ้านเมืองของไมซิเน ทำให้อารยธรรมในบริเวณทะเลอีเจียนยุติลงชั่วคราวระหว่าง 1120  800 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถือเป็นยุคมืดของอารยธรรมกรีก  การค้าตกเป็นของ พวกฟีนีเซียน  ชาวกรีกเป็นผู้ไม่รู้หนังสือ เมื่ออารยธรรมกรีกฟื้นต้องไปยืมอักษรอัลฟาเบตจากพวกฟีนีเซียนมาดัดแปลงในการเขียนหนังสือของตน ในช่วงยุคมืดมีการประพันธ์วรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่อง  มหากาพย์อิเลียน ( lliad ) และออดิซีย์ (Odyssey ) ของมหากวีโฮเมอร์ ( Homer)  เป็นเรื่องราวกับผจญภัยของวีรบุรุษกรีก  ถือว่าเป็นเอกสารกึ่งประวัติศาสตร์  การปกครองของกรีกหลัง  800  ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือที่เรียกว่า  ยุคคลาสสิก  ( Classical Age ) มีลักษณะเป็นนครรัฐ ( City – state ) ชาวกรีกนิยมเรียกว่า โพลิส ( Polis)  ทุกนครรัฐมีอำนาจเป็นอิสระและมีการปกครองที่แตกต่างกัน  ต่อมานครรัฐต่าง ๆ   หันมาปกครองแบบประชาธิปไตย โดยให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ราษฎรที่เป็นผู้ชายที่อายุบรรลุนิติภาวะและเป็นพลเมืองของนครรัฐ  ส่วนผู้หญิง  คนต่างด้าว  ทาส  ไม่มีสิทธิ  อุดมการณ์ประชาธิปไตยของกรีกนับกว่าเป็นมรดกที่สำคัญที่ถ่ายทอดให้แก่โลกตะวันตก


 ศิลปวัฒนธรรมโรมัน
                 
                บริเวณที่ตั้งของกรุงโรมมีพวกอิทรัสกันครอบครองได้รับอารยธรรมของกรีก และเอเชียไมเนอร์ พวกอิทรัสกันมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์ อพยพเข้ามาในแหลมอิตาลีได้นำความเชื่อในศาสนาของกรีก ศิลปะการแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา  อักษรกรีก   การหล่อทองแดงและบรอนซ์ การปกครองแบบนครรัฐ  การวางผังเมือง  การสร้างอาวุธ เข้ามาเผยแพร่ ในบริเวณแหลมอิตาลียังเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพจากเผ่าอื่น ๆ ได้แก่ พวกละตินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโรมันในแถบที่ราบละตินทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ มีอาชีพเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกจากบัลลังก์และจัดตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ  แต่อำนาจการปกครองตกเป็นของชนชั้นสูง เรียกว่า พวกเเพรททรีเชียน  พวกราษฎรสามัญหรือเพลเบียน ไม่มีสิทธิใดในสังคมและการเมือง  ความขัดแย้งระหว่างพวกพาทรีเซียนและเพลเบียนนำสู่การต่อสู้ระหว่างชนชั้นทั้งสองและการออกประมวลกฎหมายฉบับแรกของโรมัน เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ ( Law of the Twelve  Tables )  เพื่อใช้บังคับให้ชาวโรมันทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบเดียวกันของกฎหมายและสังคม   นับเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่ถือว่าเป็นแม่บทของกฎหมายโลกตะวันตก   ( โรมันรับมาจากเปอร็เซีย  )โรมันทำสงครามพูนิก กับพวกคาร์เทจที่ตั้งอาณาจักรบริเวณเหนือของทวีปแอฟริกา คาร์เทจเป็นฝ่ายแพ้ต้องสูญเสียอาณาจักรเปิดโอกาสให้โรมันเป็นเจ้าเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผูกขาดการค้าระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์ มีฐานะมั่งคั่งและมีอำนาจปกครองดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมันได้ยุติการปกครองในระบอบสาธารณรัฐและหันมาใช้การปกครองแบบจักรวรรดิอย่างเป็นทางการ ออคเทเวียน ( Octavian )  ได้รับสมญานามว่า ออกัสตัส ( Augustus ) และสภาโรมันยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ  พระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน  โรมันเจริญสูงสุดและสามารถขยายอำนาจและอิทธิพลไปทั่วทั้งทวีปยุโรป มีการสร้างถนนทั่วไปเพื่อสะดวกในการลำเลียงสินค้าและทหารตลอดจนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในแขนงต่าง ๆ   ในคริสคต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันได้อ่อนแอกรุงโรมถูกพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันหเข้าปล้นสะดมหลายครั้ง จักรพรรดิของโรมันองค์สุดท้ายถูกอนายรชนขับออกจากบัลลังก์ ค.ศ. 476 ถื
 มรดกที่สำคัญทางด้านศิลปกรรมวัฒนธรรมของโรมัน
              ชาวโรมันรับอารยธรรมกรีกทั้งทางตรงและทางอ้อม  ชาวโรมันจะด้อยกว่าชาวกรีกในเชิงจินตนาการ ( ปรัชญา ) แต่โรมันมีความเฉลียวฉลาดในการดัดแปลงสอดคล้องถึงความต้องการของสังคมโรมันและระบอบการปกครองของประเทศชาวโรมันจะเป็นนักปฏิบัติมากกว่าชาวกรีก   ชาวโรมันไม่นิยมสร้างวิหารขนาดใหญ่ถวายเทพเจ้าอย่างกรีก  แต่กลับสร้างอาคารต่าง ๆ   เพื่อสนองความต้องการของรัฐและประโยชน์ใช้สอยของสาธารณชน ตลอดจนความมีระเบียบวินัยวินัยและความรับผิดชอบ   เช่น สร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่จุผู้คนได้ถึง 67,000  คน เรียกว่า โคลอสเซียม เพื่อความหย่อนใจองประชาชน สถานที่อาบน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ ออกกำลังกาย  อ่านหนังสือ  ประตูเมือง  ท่อส่งน้ำ  ถนน  สะพานขนาดใหญ่ 
สถาปัตยกรรม จะเน้นความใหญ่โต แข็งแรง ทนทานโรมันได้พัฒนาเทคนิคในการออกแบบก่อสร้างของกรีกเป็นประตูโค้ง    เพดานหลังคาโค้ง ( รูปโดม )  ผนังก่ออิฐถือปูน  กลายเป็นแบบอย่างในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในยุโรปสมัยกลาง
ประติมากรรม  บุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ มีสัดส่วนงดงามเหมือนกรีก   แต่โรมันจะพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนของบุคคลสำคัญ ๆ เช่น จักรพรรดิ นักการเมืองโดยเฉพาะในท่าครึ่งท่อนบน ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสามารถทำให้หินอ่อนแกะสลักนั้นดูมีชีวิต อีกทั้งสะท้อนบุคลิกภาพของบุคคลที่เป็นแบบอย่างสมจริงที่สุด
นอกจากนี้ชาวโรมันยังได้แกะสลักภาพนูนต่ำ  เพื่อบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อสดุดีวีรกรรมของนักรบ
ด้านการประพันธ์  ระยะแรกบันทึกพงศาวดาร ตัวกฎหมายต่าง ๆ ตำราทหาร และการเกษตรกรรม    งานประพันธ์ของกรีกมีสีสันและจินตนาการที่กว้างไกล เช่น เรื่องเทพปกรณัม หรือประเภทปรัชญาลึกซึ้ง  แต่งานประพันธ์ที่เป็นของโรมันแท้ ๆ จะมีวัตถุประสงค์ที่จะรับใช้จักรวรรดิของตน  งานประเภทนี้จะสดุดีความยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน  เช่น งานเขียนของเวอร์จิล  เรื่อง อิเนียด เป็นมหากาพย์ว่าด้วยความเป็นมาของกรุงโรม สอดแทรกคำสั่งสอนเกี่ยวกับหน้าที่และความจงรักภักดีต่อจักรวรรดิ งานประวัติศาสตร์เน้นความยิ่งใหญ่ของโรม เช่น งานเขียน เรื่อง บันทึกสงครามกอลประวัติศาสตร์กรุงโรม งานเขียนเกี่ยวกับ อนารยชนเรื่อง เยอรมาเนีย ของ ทาซีตุส ซึ่งยังนิยมอ่านและศึกษากัน
มรดกที่ยิ่งใหญ่ของโรมัน   ได้แก่  กฎหมายสิบสองโต๊ะเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ชาวโรมันอย่างเท่าเทียมกัน  ประมวลกฎหมายโรมันนี้เป็นรากฐานของประมวลกฎหมายของประเทศต่าง ๆ  เช่น  อิตาลี  ฝรั่งเศส  สเปน  ญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตามชาวโรมันประสบผลสำเร็จน้อยที่สุด คือ  เลขคณิต  สำหรับอาหรับมุสลิมจะถ่ายทอดวิทยาการตะวันออกให้แก่ยุโรป
ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกแบบไบแซนไทน์


กำเนิดของจักรวรรดิไบแซนไทน์


    จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ถือกำเนิดจากการที่จักรพรรดิไดไอเคลเตียน (ศ.ค. 285-305 ) ทรงดำริว่าจักรวรรดิดรมันอันมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลควรมีการปกครองแบบ Tetrarch คือ แบ่งศูนย์กลางทางการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จักรวรรดิดรมันตะวันตากกับจักรวรรดิโรมันตะวันออก

การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์


    จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกมีการปกครองแบบเอกาธิปไตย (Autocrat) โดยจักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งด้านการปกครองจักรวรรดิและทางศาสนา เพราะทรงเป็นตัวแทนแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย ทรงดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุดในจักรวรรดิ
    จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีอายุยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 330-1453 เนื่องมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมคล้ายป้อมปรากการมีเทือกเขาถึงเจ็ดเทือกและแม่น้ำล้อมรอบทำให้ยากต่อการเข้าตี
    ปัญหาสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจ คือ ความขัดแย้งภายในทางศาสนา จนไม่สามรรถต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิมุสลิมในเอเชียไมเนอร์ และแอฟริกาได้ ความอ่อนแอของสถาบันจักรพรรดิในชั้นหลังก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครองในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15

จักรวรรดิไบแซนไทน์และคริสต์ศาสนา


    สถาบันคริสต์ศาสนาของโรมันตะวันตกมีความแตกต่างจากโรมันตะวันออกหลายด้านทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิดลกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาแบบ Christian Hellenism ซึ่งต่อมาในศตวรรษที่ 11 ได้กลายเป็นนิกายออร์โธดอกซ์ กับคำสอนในคริสต์ศาสนาที่ผ่านการตีความของจักรพรรดิคอนสแตนตินทำให้นิกายนี้เชื่อว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า
    ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดลำดับเมืองสำคัญทางศาสนาเป็น 5 เมือง คือ โรม คอนสแตนติโนเปิล อเล็กซานเดรีย แอนดิออชและเยรูซาเล็ม
การเกิดนิกายกรีกออร์โธดอกซ์และโรมันคาธอลิก


    ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 จักพรรดเลโอที่ 3 ทรงยกเลิกการเคารพบูชารูปเคารพและรูปปั้นทั้งในโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตกทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย เป็นเหตุให้สถาบันจักรพรรดิสูญเสียอำนาจ ก็ไม่สามารถฟื้นฟูอำนาจของสถาบันจักรพรรดิได้สำเร็จ และแยกกันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ 1054
จักรวรรดิไบแซนไทน์และความสำคัญที่มีต่อโลกตะวันตก
    กฎหมายและการปกครองมีการรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่
  • Code คือ บรรดากฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณ
  • Diges คือ ประมวลความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายต่าง ๆ
  • Institute คือตำรากฎหมาย
  • Novelsคือภาคผนวกของ Code และประมวลความเห็นของจักรพรรดิสมัยต่าง ๆ


ประมวลกฎหมายสำคัญเป็นของจักรพรรดิจัสติเนียน เรียกว่า Corpus Juris Civilis หรือ Justinian Code ซึ่งมีการปรับปรุงมาโดยตลอด และยังคงมีอิทธิพลต่อวีถีชีวิตของชาวยุโรปตะวันออกในปัจจุบัน
ศิลปวิทยาการไบแซนไทน์
     จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้สืบทอดผสมผสานศิลปะวิทยาการของโลกคลาสสิกและโลกมุสลิมให้เข้ากับคริสต์ศาสนาไว้ได้ครบถ้วน
    ทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น จอห์น เดอะ เกรมาเรียน เสนอทฤษฎีเรื่องความเร็วของวัตถุในสุญญากาศมิได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุนั้น ๆ นอกจากนี้ซีโมนเสธ
    ทางด้านศิลปะนั้น  จักรวรรดิไบแซนไทน์ไดผสมผสานรูปแบบศิลปะกรีกโรมันและเปอร์เซียอย่างกลมกลืน เป็นคลังด้านศิลปวิทยาการของกรีกโรมันและโลกมุสลิมที่ถ่ายทอดแก่โลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 ตามลำดับ

ศาสนา
    ศาสนาในจักรวรรดิไบแซนไทน์พัฒนามาจากคริสต์ศาสนาแบบกรีกนิยมมีผลทำให้ศาสนาคริสต์แยกออกเป็นสองนิกาย คือ กรีกออร์โธด็อกซ์นับถือกันในยุโรปตะวันออกและโรมันคาธอลิกนับถือในยุโรปตะวันตกอย่างเด่นชัน
ศาสนาอิสลามกับอารยธรรมตะวันตก
     ศาสนาอิสลามหรือศาสนาของพวกชาราเซน  เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายแห้งแล้งและเป็นถิ่นฐานของชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ และชาวเบดูอิน

ศาสดามะหะหมัด
 ศาสดามะหะหมัดเกิดในตระกูลพ่อค้าวงศ์กูไรซิด เมื่อโตขึ้นได้คุมคาราววานค้าขายแล้วแต่งงานกับหญิงหม้าย การเดินทางทำให้มีวิสัยทัศน์ จากการพบพ่อค้าชาวฮิบรู ชาวคริสต์และพ่อค้าที่นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ ครั้นอายุ 40 ปี ก็ประกาศตัวเป็นศาสดาพยากรณ์องค์สุดท้ายเพื่อเผยแพร่คำสอนของพระอัลหล่าห์
ศาสนาอิสลามสอนเรื่องการนอบน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อ อดกลั้น สามัคคีรักใคร่ฉันท์พี่น้องและอุทิศชีวิตเพื่อศาสนา เป็นต้น ศาสนาอิสลามแบ่งเป็น 3 นิกาย คือ
  • นิดายสึกนี่
  • นิดายชิอะห์
  • นิกายซูฟีร์


การขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิม
    หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมะหะหมัดใน ค.ศ. 632  จักรวรรดิมุสลิมมีการการปกครองโดยมีกาหลิบ และมีการแย่งชิงอำนาจดดยเชื้อพระวงศ์ของพระมะหะหมัดฝ่ายบิดาของมเหสีแต่ตอนหลังมีนายพลผู้หนึ่งชิงอำนาจไปแล้วตั้งราชวงศ์อุมัยยาร์ด ส่วนราชธานีของจักรวรรดิมุสลิมย้ายไปยังเมืองดามัสกัส ทำให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิมุสลิมเปลี่ยนจากคาบสมุทรอารเบียเป็นบริเวณแถบเมดสโปเตเมีย จากนั้นเข้าไปในยุโรปก่อตั้งอาณาจักรมุสลิมในสเปนอิตาลีตอนใต้และแอฟริกาตอนเหนือ

อารยธรรมมุสลิม
    ระหว่างคริสต์ตวรรษที่ 5-11 ยุโรปตะวันตกกำลังอยู่ในยุคกลาง แต่จักรวรรดิมุสลิมกลับเจริญก้าวหน้าอย่างมากมายและมีส่วนสำคัญในการเสริมความก้าวหน้าของจักรพรรดิไบแซนไทน์อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรปตะวันตกในเวลาต่อมาด้วย


ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยกลาง

ความหมายของยุคกลาง (ค.ศ. 410 – 1494)
    ยุคกลางเป็นยุคมืดแห่งศิลปะวิทยาการ นักคิดในยุคฟื้นฟูสิลปวิทยาการ (คริสต์ศตวรรษที่ 15) และนักคิดแห่งสำนักฟิโลซอฟ (The Philosophes) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีวอลแตร์ (Francois Voltaire) เป็นผู้นำเสนอว่ายุคกลางเป็นยุคที่ยุโรปหยุคนิ่งทางศิลปะวิทยาการ และอยู่ระวห่างความเจริญของโลกคลาสสิกกับความรุ่งเรืองของยุโรปสมัยใหม่ซึ่งเริ่มต้นเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลายจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (ต้นคริสศตวรรษที่ 5-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15)

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของยุคกลาง
        ยุคกลางตอนต้น เป็นยุคแห่งความสำเร็จพวกนอร์ธแมน เป็นยุคแรกของสังคทมศักดินาซึ่งทำให้เกิดการชะงักงันทางปัญญาไร้กฎระเบียบ วินัยและมีการผสมผสานกันของศาสนาคริสต์กับอารยธรรมกรีก-โรมัน
  ยุคกลางช่วงรุ่งเรือง เป็นยุคทองของสังคมศักดินาและสถาบันศาสนา คริสตจักรและอาณาจักรอยู่ภายใต้การชี้นำของพระสันตะปาปามีการฟื้นฟูปรัชญาของอริสโตเติลทำให้สังคมฟื้นตัวทางปัญญาและเศรษฐกิจ
  ยุคกลางตอนปลาย เป็นยุคเสื่อมของสถาบันศาสนาและระบอบศักดินา มีการสร้างรัฐประชาชาติและยอมรับอำนาจกษัตริย์สนใจปรัชญากรีก-โรมัน นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการความก้าวหน้าทางแพทย์




สังคมยุคกลาง
    Manor เป็นหน่วยปกครองทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจระดับพื้นฐานในยุคกลางเชื่อมดยงเจ้าที่ดิน (Lord) กับประชากรเอาไว้ การปกครองนี้เรียกว่าระบบ Manorialism

การเมืองยุคกลาง
  หลังการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อนารยชนเผ่าเยอรมันได้ตั้งอาณาจักรเล็ก ๆ ทั่วไปในยุโรปใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 ดังนี้
    พวกวิซิกอธ รุกเข้าตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือของสเปน ก่อตั้งแคว้นอาควิเตน มีตูลูสเป็นเมืองหลวง 
    อำนาจของชนเผ่าเยอรมันมาจากการใช้คมหอกสั้นปลายแคบและเครื่องมือเหล็กเพราะปลุกไม่รู้จักใช้เงินชอบการต่อสู้ กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดมากจากการเลือกตั้งยกย่องเพศหญิงมากกว่าสังคมโรมัน เด็กชาย-หญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูเทียมกัน

คริสตศาสนา
    คริสต์ศาสนาเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ต้นคริสตกาลแต่ไม่ได้รับความนิยมต่อมาในปี ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ทำให้ชาวโรมันทิ้งลัทธิการบุชาเทพเจ้าและภูตผี การคุกคามของอนารยชนและการแย่งชิงอำนาจของผู้ปกครองจึงทำให้ชาวโรมันหันมานับถือคริสต์ศาสนา หลังจักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลง คริสต์ศาสนาเป็นสถาบันเดียวที่ยื่นหยัดได้ภาขใต้การนำของพระสันตปาปา แต่จักรพรรดิกลับหมดอำนาจสิ้นเชิง

อาณาจักรคาโรลินเจียน
    อาณาจักรคาโรลินเจียนพัฒนามาจากอาณาจักรเมโรวินเจียนในแคว้นกอล ซึ่งยอมให้พลเมืองนับถือศาสนาคริสต์ในปลายคริสต์ดศตวรรษที่ 5 ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 อำนาจของอาณาจักรเมดรวินเจียนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน
    อาณาจักรคาโรลินเจียนเริ่มเสื่อมลงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ทำให้อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามสัญญาแวร์ดัง  (the treaty of Verdun) คือ
    - ส่วนแรก จักรพรรดิ Lothair ปกครองอาณาจักรส่วนกลางได้แก่อิตาลี เบอร์กันดีอัลซาด ลอเรนท์ เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก
    - ส่วนที่สอง Louis the German ปกครองเยอรมัน
    - ส่วนที่สาม Charlethe Bold ปกครองฝรั่งเศส

การฟื้นตัวของเมือง
    ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันทำให้เมืองศูนย์กลางทางการค้าและศิลปวัฒนธรรมสิ้นสุดบทบาทาลงไปด้วยสำนักบาทหลวงและโบสถ์ในชนบทจึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแทนเมืองนานกว่า 500 ปี

สมาคมการค้าหรือสมาคมอาชีพล
    นอกจากนี้นักรบ นักคิด นักเขียนและอื่น ๆ ก็ต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตน แต่ละสมาคมก็มีระเบียบและจรรยาบรรณควบคุมสมาชิกให้ทำงานได้มาตรฐาน เช่นหากคนทำขนมปังทำขนมปังไม่ได้น้ำหนักก็จะถูกเอาขนมปังห้อยคอประจาน คนทำไวน์ผลิตไวน์ไม่มีคุณภาพก็ถูกบังคับให้ดื่มไวน์แล้วเอาส่วนที่เหลือราดตัว และสมาคมอาชีพยังกีดกันมิให้สมาชิกผลิตสินค้าอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ทำให้ขาดการคิดสร้างสรรค์สินค้าอื่นออกสู่ท้องตลาด ครั้งถึงสมัยกลางตอนปลายสภาวะเช่นนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความคิดเรื่องปัจเจกชนมาแทนที่

กำเนิดมหาวิทยาลัยในยุโรป
    มหาวิทยาลัยบางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และปัญญาชนกลุ่ม University อันเป็นองค์กรทางวิชาชีพในเมือง มหาวิทยาลัยบางแห่งขยายตัวมาจากโรงเรียนวัน บางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และนักศึกษาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแพร่หลายมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 มหาวิทยาลัยปารีสมีชื่อเสียงมากที่สุดทางตอนเหนือ มหาวิทยาลัยโบโลญยาในอิตาลีมีชื่อเสียจงที่สุดทางตอนใต้
    ด้านการเรียนการสอนนั้น มหาวิทยาลัยยังไม่มีอาคารเรียน ห้องสมุดหรืออุปกรณ์จึงต้องใช้โบสถ์หรือห้องโถงของมหาวิหารหรือห้องเช่าเพื่อการเรียนทำให้อาจารย์และนักศึกษามักย้ายมหาวิทยาลัยไปยังต่างเมือง เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าเช่าสถานที่อาหาร

สงครามครูเสด
    ความขัดแย้งระหว่างคริสต์กับอิสลามตั้งแต่ต้นคริสศตวรรษที่ 7 เป็นสาเหตุของสงครามครูเสด เมื่อชาวมุสลิมรุกรามและยึดครองยุโรปบางส่วนทำให้ชาวคริสต์ขัดขวางการขยายตัวของศาสนาอิสลามซึ่งชาวคริสต์ถือว่าเป็นภัยต่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์
    สงครามครูเสดเกิด 9 ครั้ง การรบครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1096-1099 เท่านั้นที่เกิดจากศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระจ้าไม่มีเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องทำให้นักรบครูเสดสามารถยึดครองกรุงเยรูซาเล็มและจัดระบบการผกครองแบบฟิวดัลที่เยรุซาเล็มได้แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกผลักดันกลับในสงครามครูเสดครั้งที่ 2

ผลกระทบของสงครามครูเสด
    ผลจากสงครามทำให้ชาวคริสต์เปิดรับความรู้ภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติกับชาวตะวันออกอย่างกว้างขวางส่งผลให้การค้าเจริญเติบโตขึ้นอาทิ สินค้าประเภทผ้าฝ้ายฯลฯ และกระตุ้นให้มีการเร่งผลผลิตทางเกษตรกรรมและหัตถกรรมเมื่อชาวยุโรปนำวิทยาการกลับมาเผยแพร่จึงก่อให้เกิดความตื่นตัวทางการศึกษาและศิลปะทำให้ระบบฟิวดัลและระบบแมนเนอร์ซึ่งปิดกั้นเสรีภาพและความสามารถของปัจเจกชนถูกทำลาย

วรรณกรรมสมัยกลาง
    วรรณกรรมสมันกลางมีทั้งวรรณกรรมทางโลกและทางศาสนา
วรรณกรรมทางศาสนาเขียนเป็นภาษาละติน งานชิ้นหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนสมัยกลางมาก คือเทวนคร โดยนักบุญเขียนตั้งแต่ปลายสมัยโรมัน กล่าวถึงการสร้างโลกและกำเนิดของมนุษย์ การไถ่บาปและการพิพากษาครั้งสุดท้ายก่อนที่มนุษย์จะกลับไปสู่ดินแดนของพระเจ้า

การเสื่อมอำนาจของศาสนาจักร
    ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุดพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3ทรงมีฐานเป็นประมุขทั้งทางโลกและทางธรรมจากการที่ทรงใช้อำนาจครอบงำเหนืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งกษัตริย์และขุนนางในยุโรปตะวันตกต่างก็เชื่อฟังพระองค์
    การแตกแยกทางศาสนาเป็นเหตุให้ศาสนจักรเสื่อมอำนาจและศรัทธาสังคมยุโรปจึงเปิดโอกาสให้พวกนกรีตแม่มด หมดผีเข้ามีบทบาทต่อชีวิตชาวเมืองสังคมยุโรปจึงเน่าเฟะจึงเป็นที่มาของการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16



                ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและสมัยบารอค-รอคโคโค

    สมัยการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม วัฒนธรรมเศรษฐกิจและการเมืองเกิดขึ้นก่อนในอิตาลีก่อน จากนั้นก็เผยแพร่ไปทางยุโรปตอนใต้ ได้แก่ ฝรั่งเศสเยอรมนีตอนใต้ และสเปน ส่วนยุโรปทางเหนือนั้นรับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงจากอิตาลีเช่นกันแต่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด และข้อปฏิบัติทางคริสต์ศาสนา

สาเหตุที่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเกิดขึ้นก่อนในอิตาลี
    ประการที่หนึ่ง    สภาพทางภูมิศาสตร์ อิตาลีเป็นที่ตั้งของกรุงโรม ศูนย์กลางของอารยธรรมโรมัน
    ประการที่สอง     สงครามครูเสด ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานร่วมสองศตวรรษตลอดเวลาของสงคราม
    ประการที่สาม    ความเสื่อมโทรมของสถาบันทางคริสต์ศาสนาฝ่ายบริหารขององค์กรศาสนา ประพฤติตัวเหลวแหลกเป็นส่วนใหญ่
    ประการสุดท้าย    สภาพเศรษฐกิจและสังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ชาวอิตาลีค้าขายของจนร่ำรวยแล้วก็พยายามมหาทางเข้าไปมีบทบาททางการปกครอง

ลักษณะศิลปวัฒนธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
       ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงสุดชนชั้นกลาง คือ พ่อค้าเป็นกลุ่มที่ควบคุมทั้งด้านการ ปกครอง การเมือง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ศิลปะทุกด้านนิยมความสวยงามตามแบบกรีก-โรมันแม้อิทธิพลของศิลปะกอธิกและไบแซนไทน์จะมีอยู่บ้างแต่ศิลบปกินอิตาเลียนได้นำศิลปะแบบกรีก-โรมันมาเป็นแม่แบบแล้วเพิ่มเทคนิคใหม่ ๆ 
เป็นสมัยที่ภาษาและวรรณคดีมีแบบแผนสมบูรณ์สละสลวยตามแบบภาษาและวรรณคดีกรีก-โรมัน ชนชั้นกลางโดยทั่วไปนิยมศึกษาวรรณคดีกรีและภาษีละติน
เน้นแนวความคิดตามอุดมการณ์ของลัทธิมนุษย์กนิยม

ลักษณะของวรรณคดี
    การเปลี่ยนแปลงทางวรรณคดีจากสมัยยุคกลางมาสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้จะเริ่มจะเริ่มเห็นได้ชัดตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ลักษณะวรรณคดีในยุคนี้จะแตกต่างจากยุคกลางแทบจะโดยสิ้นเชิง
    ลักษณะคำประพันธ์ต่าง ๆ จะเลียนแบบคำประพันธ์ของกรีก-โรมันทุกด้านมีการพิมพ์บทประพันธ์ภาษากรีก-ละติน เป็นภาษาท้องถิ่นด้วยเรื่องราวเทพนิยายกรีกจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
    ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้นได้นำหลักการศิลปะกรีก-โรมัน มาผสมผสานเข้กับเทคนิคใหม่ ๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้แก่การจัดให้มี แสง เงา ช่องว่า และภาพี่แสดงการเคลื่อนไหวและเพื่อให้ภาพดูใกล้ความเป็นจริงศิลปินจึงได้เพิ่มภาพลวงให้เห็นส่วนลึกเข้าไปด้วย
    จุดเริ่มต้นของศิลปะเรอแนสซองส์เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะให้ต่างจากยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จากผลงานนิโคลา ปิซาดน ผู้ออกแบบและสร้างแท่นสวน วัดที่เมืองปิชา เป็ดภาพนูนเกี่ยวกับประวัติของพระเยชูโดยใช้รูปแบบและกลวิธีอย่างประติมากรรมกรีก-โรมัน ประติมากรรมดังกล่าวจึงมีชื่อเสียงและกลายบันดาลใจให้กับศิลปินเรอแนสซองส์ระยะต่อมา
    ศิลปะเรอแนสซองส์ส่งผลให้มีผู้อุปถัมภ์ศิลปินอย่างคึกคัก สภาวการณ์ดังกล่าวจึงกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแองเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแดงเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกและวิศวกรส่วนเลโอนาร์โด ดาวินซี ก็เป็นทั้งศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร

ศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ ยุครุ่งเรือง
    ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีผลงานส่วนใหญ่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ได้รับการยกย่องในสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองผลงานของดาวินชีเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
    นอกจากลีโอนาโด ดาวินชีแล้วศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองแล้วอัลเบรคท์ดูเรอร์ ศิลปินชาวเยอรมัน ก็ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผลงานสำคัญชิ่นหนึ่งคือภาพเหมือนศิลปิน จัดแสดงที่เมืองมิวนิคแต่ผลงานของเขากลับส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางแก่ศิลปินในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ยกเว้นเยอรมนี

การปฏิรูปศาสนา
    ในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14-15 สถาบันคริสต์ศาสนาประสบกับความท้าทายอำนาจอย่างมากจากหลายฝ่ายนอกจากพลังทางความคิดแบบปัจเจกชนนิยมแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมและการปกครองกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่สั่นคลอนอำนาจของศาสนาจักร
    กลุ่มที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงแก้ไขข้อ ปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาจักรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 
กลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน
กลุ่มของเจ้าหน้าที่ในองค์การศาสนาคริสต์

บทบาทของมาร์ติน ลูเธอร์
    เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์เริ่มงานปฏิรูปศาสนา จุดประสงค์ระยะแรกของเขาคือ ต้องการให้มีการจัดระบบการบริหารภายในสถาบันศาสนาใหม่โดยใช้ระบบผู้แทนแทนระบบการแต่งตั้งอีกทั้งต้องการให้มีการปฏิรูปศาสนาในระดับต่าง ๆ และลดความสำคัญของพระสันตปาปาในการแต่งตั้งและมีอำนาจเหนือพระราชาคณะใน ค.ศ. 1517 ลูเธอร์เสนอหลักการ 95 ประการ ติดประกาศที่บานประตูโบสถ์ ณ เมืองวิตเตนเบอร์ก โจมตีความเสื่อมทรามของศิลธรรมจรรยาของพวกพระและการปฏิพฤติปฏิบัติผิดในคริสต์ศาสนา

แนวคิดและหลักการของลูเธอร์
    หลักการปฏิบัติของลูเธอร์ที่แตกต่างจากองค์การคริสต์ศาสนาจักรมี 3 ประการ ดังนี้
ศรัทธาโดยความเชื่อไม่ใช่โดยการกระทำ 
อำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์คือสิ่งเดียวที่ตัดสินความถูกต้อง
คริสต์ศาสนิกชนทุกคนเป็นพระได้ทั้งนั้น

ความคิดทางการเมืองของลูเธอร์
    ในความคิดทางการเมืองลูเธอร์สนับสนุนอำนาจการปกครองสูงสุดของฝ่ายบ้านเมืองทั้งนี้เพราะลูเธอร์ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ไปมีส่วนรับผิดชอบในทางโลก เขายอมรับว่ารัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ของคนในบังคับที่ต้องเชื่อฟังฝ่ายปกครอง

แนวความคิดของจอห์น คาลแวง
การปฏิรูปศาสนามีผลโดยตรงต่อประเทศตะวันตก กล่าวคือได้แบ่งแยกคริสต์ศสนิกชนเป็น 2 นิกายคือ นิกายโรมันคาทอลบิกสนับสนุนพระสันติปาปาแห่งกรุงโรมก็แบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ จำนวนมาก
ก่อให้เกิดปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก หลังจากที่หลายประเทศในยุโรปมีการปฏิรูปศาสนาและยอมรับนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งฝ่ายคาทอลิกประมาณว่าเป็นการปฏิวัติต่อต้านอำนมาจสูงสุดที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นการปฏิวัติทางศาสนา

ผลการปฏิรูปทางศาสนาที่มีต่อโลกตะวันตก
    การปฏิรูปศาสนา ทำให้สังคมตะวันตกซึ่งเคยมีคริสต์ศาสนาเป็นศูนย์รวมของผู้คนหลายหลายชาติภายใต้ศรัทธาและความเชื่อเดียวกันเกิดความแตกแยกและหันไปนับถือคริสตศาสนานิกายต่าง ๆ และเกิดขันติธรรมทางศาสนาทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาปรับปรุงประเทศของตนแทนการยึดติดกับศาสนา จนเกิดแนวทางใหม่ในสังคมตะวันตกโดยที่ผู้ปกครองเป็นอิสระจากการครอบงำของศาสนาคริสต์ดังเช่นสมัยกลาง

ศิลปะบารอค
    ยุคบารอคกำเนิดขึ้นเป็นครั้-แรกที่ประเทศอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วยุโรประหว่าง ค.ศ. 1550-1750 เจริญสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1680-1730 ในช่วงนี้มีชื่อเรียกว่ายุคในทางศิลปะ ระยะเวลา 200 ปีตั้งแต่ช่วงปลายยุคเรอแนสซองส์ได้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะที่แปลกไปจากสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองทั้งจิตรกรรมประติมากรรมสถาปัตยกรรมวรรณกรรรมและคนตรีเรียกว่า ศิลปะบารอคคำว่า ลักษระที่ผิดเพี้ยนไปจากระเบียบวีคิดทางการสร้างสรรค์ต้นแบบ
จิตรกรรม
    จิตรกรรมสมัยบารอคเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาจิตรกรรมสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรือง โดยเน้นให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสงเงาเพื่อให้ดึงดูดความสนใจและความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ลักษณะเด่นอีกประการของจิตรกรรมบารอค คือ ภาพคนจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา

คาราวัคโจ
    คาราวัคโจ ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะว่า เป็นศิลปินสมัยบารอคคนแรก ที่ปูทางไว้ให้กับรูเบนส์ เรมบรานท์และเวอร์เมียร์ แม่นยำเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของคน มักจะเขียนภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา


เทคนิคแนวทางศิลปะของเรมบรานท์


    แทนที่จะเขียนภาพเพื่อเหตุผลทางศาสนาเขากลับกลับเขียนภาพที่มีเนื้อหาอื่นทำให้ภาพเขียนของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพเขียนที่ยิ่งใหญ่เทคนิคทางสิลปะที่เรมบรานท์ใช้คือความแตกแนเรื่องหลักกายวิภาคศาสตร์ ผสมผสานกับการจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆ ไว้ในความมืด และให้แสงสว่างจ้าเป็นจุดเน้นของภาพกระจายเป็นจุด ๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของเรมบรานท์ที่ส่งอิทธิพลแก่ศิลปินรุ่นหลังมากที่สุด
    ประติมากรรม ผลงานประติมากรรมสมัยบารอค มีลักษณะรูปแบบศิลปะที่แสดงองค์ประกอบอันวิจิตรอลังการเช่นเดียวกับจิตรกรรมแสดงท่วงท่าอย่างโลดโผนคล้ายการแสดงละคร
    เบอร์นินี เกิดในครอบครัวประติมากรมีชื่อเสียงเขาเป็นศิลปินทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมมีโอกาสสร้างงานชุดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพประประกอบด้วยภาพ
    ศิลปะโรโกโก ปารกฎในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นแบบอย่างศิลปกรรมอีกแบบหนึ่งของบารอค หรือเป็นผลจากพัฒนาการของศิลปะบารอค นักวิชาการบางท่านถือว่าเป็นศิลปะกลุ่มเดียวกับศิลปะบารอค
    จิตรกรรมรอคโคโค จิตรกรรมโรโกโกมีลักษณะไม่แตกต่างจากงานประดับประดาตกแต่งทั่วไป จิตรกรจะเน้นรายละเอียดในการประดิษฐ์ตกแต่งส่วนประกอบย่อยมากมาย หรูหรา เกินธรรมชาติเพื่อเน้นในเกิดความหลงใหลในบรรยากาศแห่งภาพนั้น ๆ
    ดนตรีคลาสสิก ศิลปะการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่าง ๆ  ตั้งแต่ดึงดำบรรพ์ในยุคกรีกและโรมันการดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ  และกิจการทางศาสนาโดยเริ่มมาการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรีในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด
    อุปรากร  ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงประเทสออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค และโมสาร์ท ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่
    กรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่น ๆ จำนวนมากในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรปนักดนตรีและคตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนักศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสุมส่ง

การท่องเที่ยวทางน้ำในยุโรป




                                                                เวนิส, อิตาลี
                      เวนิส (อังกฤษ: Venice) หรือ เวเนเซีย (อิตาลี: Venezia) เป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และ เมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)







เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำพลาวิ มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในเทอร์ราเฟอร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ




ประชากรเวนิส

                     เวนิชมีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในเทอร์ราเฟอร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ

การคมนาคม
                           เวนิชเป็นเมืองที่มีการใช้คลองในการคมนาคมมากที่สุด มีอาคาร ร้าน บ้านเมืองตั้งริมคลอง มีเรือบริการในการเดินทางไปในที่ต่างๆของเมืองมีการบริการท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ธรรมชาติของ 2 ฝั่งคลองโดยทางเรือ นับเป็นเมืองที่คลองมากกว่าถนนอีกเมืองหนึ่งของโลก


ศักดินา

                                   ศักดินา
       ศักดินาไทย
ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์

ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง
 

            






 ศักดินายุโรป
พื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็นเกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากินแปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด
ระดับชั้นในระบบศักดินา
ระบบศักดินา หรือ ระบบสามนตราช (Feudalism) ของยุโรปนี้แตกต่างจากระบบศักดินาไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบดังกล่าวข้างต้น ที่มีนาย และข้า ถัดลงไปตามลำดับ โดยระดับสูงคือจักรพรรดิที่อาจมีรัฐบริวาร (Vassal) รองลงมาคือ กษัตริย์ และ อาร์คดยุค เช่นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) กษัตริย์ก็มีข้ารองลงมา ปกครองดินแดนย่อยลงไปคือ ดยุค และถัดไปตามลำดับ ขุนนางและผู้ครองดินแดนของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1.               ดยุ
2.               มาร์ควิ
3.               อิร์ (อังกฤษ) หรือ เคานท์ หรือ มากรา (ภาคพื้นยุโรป)
4.               วส์เค้านท์
5.               บาอน



ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดนอื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็นสหอาณาจักร และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครของอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี ที่ดิน หรือ Estate เป็นของตนเอง มีข้าที่ดิน (serfs) คือสามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ