วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ย่อบทที่1-3 ศิลปะและวัฒนธรรมตะวันตก

                              บทที่1-3 ศิลปะและวัฒนธรรมตะวันตก

บทที่1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์
        
              บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรในทวีปอาฟริการะหว่าง2,000,000-500,000 ปีมาแล้ว พวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มมนุษย์ผู้ยืนตัวตรง(Homo Erectus) สูงราว 3 ฟุตเศษ มีฟันลักษณะคล้ายฟันของมนุษย์ปัจจุบัน สมองยังเล็ก และรู้จักใช้มือเพื่อทำประโยชน์ต่างๆ รู้จักทำเครื่องมือหินด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อใช้คมในการตัด ฟัน หรือขูด เรียกว่า "ออตราโลพิเธคัส" หรือเรียกอีกชื่อว่า "โฮโมฮาบิลิส" หมายถึง มนุษย์ผู้ถนัดใช้มือ กระจายไปตามส่วนต่างๆของทวีปอาฟริกา แหล่งสำคัญคือ ถ้ำโอลดูเวย์(ประเทศแทนซาเนีย) ค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1959 อายุราว 1,750,000 ปีมาแล้ว
    ดร.หลุยส์ เลคกี ผู้ค้นพบเสนอว่า มนุษย์โฮโมฮาบิลิสมีความก้าวหน้ากว่าบรรพบุรุษซึ่งมีความเป็นอยู่คล้ายวานร คือรู้จักการใช้เครื่องมือและกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มีวิธีจับสัตว์คือ ไล่ต้อนฝูงสัตว์ลงไปในหนองน้ำ แล้วจับตัวอ่อนกิน
    
                  บรรพบุรุษอีกอีกพวกหนึ่งคือ มนุษย์นีแอนเดอธัล(Neanderthal Man) พบหลักฐานที่ถ้ำแอนเดอร์ ใกล้เมืองดุลเซลคอร์ฟ เยอรมนี กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของยุโรปและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ 150,000 ปีมาแล้ว สูงราว 5 ฟุตเล็กน้อย ปริมาณสมองใกล้เคียงกับมนุษย์ในปัจจุบัน รู้จักการล่าสัตว์โดยการใช้ไฟ มีการวางโครงกระดูกและเครื่องมือที่ทำด้วยฟันและกระดูกสัตว์ในหลุมศพ สันนิษฐานว่า มีการประกอบพิธีศพ และอาจมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณอมตะ

   
                 บรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการประมาณหลายหมื่นปีมาแล้วนักมานุษยวิทยาเรียกว่า "มนุษย์สมัยใหม่" หรือ "มนุษย์ฉลาด-Homo Sapiens" มนุษย์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีรูปร่าง ผิวพรรณ ภาษาหรือเชื้อชาติใด ล้วนสืบเชื้อสายมาจากพวกโฮโม เซเปียนส์ มนุษย์โคร-มันยอง(Cro-Magnon) เป็นมนุษย์สมัยใหม่ที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุด โครงกระดูกของมนุษย์โคร-มันยองพบครั้งแรกที่แคว้นเวลส์ในประเทศอังกฤษ มนุษย์โคร-มันยองมีอายุประมาณ 35,000 ปีมาแล้ว จัดเป็นมนุษย์ยุคหินเก่า มีความสูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีปริมาณมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปปัจจุบันและมีอวัยวะคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน รู้จักใช้เครื่องมือหิน กระโหลกศรีษะยาว ใบหน้าสั้น มีความสามารถในการเขียนภาพบนผนังถ้ำ รู้จักเผาพและสักบนใบหน้า มีการแกะสลักหินเป็นรูปหญิงอ้วน เรียกว่า"รูปวีนัส แห่งวิลเลนดอร์ฟ(Venus of Villendorf)" ซึ่งเน้นรูปทรงทางเพศที่แสดงร่องรอยการให้กำเนิดมาแล้วอย่างโชกโชน สูง 11 เซนติเมตร พบที่วิลเลนดอร์ฟ ประเทศออสเตรีย(ราว 25,000-20,000 ปี BC.)


                มนุษย์หินยุคเก่ารู้จักการล่าสัตว์และเก็บพืชพัก ผลไม้กินเป็นอาหาร พึ่งพาธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมเต็มที่ เมื่อฝูงสัตว์และอาหารหมดลงก็ย้ายถิ่นอาศัยติดตามฝูงสัตว์ไป มักอาศัยใกล้ทะเลหรือหนองน้ำ เพื่อหาอาหารและใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
                จิตรกรรมที่ถ้ำลาสโคซ์จัดดยู่ในสมัยหินกลางพบว่าเขียนภาพทั้งด้านข้างและเพดานถ้ำ ถ้ำลาสโคซ์ตั้งอยู่ใกล้มองแตงญักบริเวณลุ่มน้ำดอร์ดอน ในฝรั่งเศส ถูกพบโดยบังเอิญ ค.ศ. 1940 โดยเด็กชายสองคนที่ที่ไปวิ่งเล่นหน้าโพรงถ้ำ จากการกำหนดอายุ พบว่าภาพเขียนดังกล่าวมีอายุประมาณ 15,000-13,000 ปีBC. ภาพวัวไซบัน ม้า กวาง แสดงภาพด้านข้าง คำนึงถึงความจริง ท่าทางเคลื่อนไหว มีทักษะการใช้เส้นที่กล้าหาญ ไม่คำนึงถึงสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับบางภาพ วาดภาพซ้อนทับกัน สันนิษฐานว่าอาจวาดต่างช่วงเวลากัน มีเป้าหมายด้านความเชื่อเหนือเหตุผล
    
                สมัยหินใหม่ มนุษพัฒนามาจากผู้ที่เคยดำรงชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ สู่สังคมเกษตรกรรม เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมชน สมัยหินใหม่ตอนต้น มีการสร้างกระท่อมดินดิบมุงด้วยใบไม้ สร้างเรือโดยเอาท่อนซุงผูกเป็นเรือแคนู เลี้ยงสุนัข เรียนรู้การใช้อาวุธ ป้องกันตัว และทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
               ศิลปะโดดเด่นที่สุดของยุคหินใหม่ คือ อนุสาวรีย์หิน(Megalithic) ซึ่งนำหินขนาดใหญ่มาตั้ง จัดวางลักษณะต่างๆแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบหินตั้ง กับแบบโต๊ะหิน และสามารถแยกย่อยตามลักษณะการตั้งวางได้อีกด้วย
        หินตั้งเดี่ยว เป็นแท่งหินตั้งอย่างโดดเดี่ยว เมนเฮอร์ที่สูงใหญ่ที่สุดอยู่ที่ลอคมารีเก ฝรั่งเศสสูง 64 ฟุต
        หินตั้งเป็นแกนยาว เป็นการตั้งหินเป็นแนวฉากกับพื้นและตั้งเป็นแถวยาวหลายก้อน บางแห่งมีหินตั้งกว่าพันแท่ง เรียงรายกว่า 2 ไมล์
        หินตั้งเป็นวงกลม เป็นการนำหินมาตั้งเป็นวงกลมใหญ่ที่สุดอยู่ที่แอฟบิวรี่ในอังกฤษมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 6 ไมล์
        โต๊ะหิน เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ 3 แท่งหรือมากกว่านั้นวางพลาดทับอยู่ด้วยกันคล้ายโต๊ะยักษ์ หรือประตูที่คนสามารถลอดผ่านไปได้







บทที่2............อารยธรรมในเอเชียไมเนอร์และแอฟริกาเหนือ

           รากเหง้าความเจริญของอารยธรรมตะวันตกในเเอฟริกาเหนือเเละเอเชียไมเนอร์ ก่อต่อขึ้นเมื่อประมาณ 4,000  BC.  ในพื่นที่สำคัญ 2 ภูมืภาค คือ ดินเเดนเเมโสโปดตเมีย (Mesopotemia)  ในลุ่มเเมน้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในเอเชียไมเนอร์ (หรือตะวันออกกลาง) เเละที่อาณาจักรอียิปต์เเห่งลุ่มน้ำไนล์ ในเเอฟริกาเหนือ

ศิลปวัฒนธรรมในดินเเดนเมโสโปเตเมีย


         
          เมโสโปเตเมีย(Mesopotamia) หรือ  "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์"  ได้ชื่อว่าดินเเดนเเห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีอายุเก่าเเก่ที่สุดในโลก
          คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
กลุ่มชนต่างๆที่เคยมีอำนาจเเละสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมเหนือดินเเดนเมโสโปเตเมีย ได้เเก่
  • ชาวสุเมเรียน
  • ชาวอัคคาเดีย (Akkadians)
  • ชาวอมอไรต์ (Amorites)
  • ชาวแอสซีเรียน (Assyrian)

ชาวสุเมเรียน เป็นคนกลุ่มแรกที่มีอำนาจครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส ( Tigris – Euphrates)   ปัจจุบันคือ  ประเทศอิรัก เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอารยธรรมในแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส  ยูเฟรทีส  มีการปกครองแบบนครรัฐ
สภาพภูมิอากาศ     แบบกึ่งทะเลทรายไม่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้งทางธรรมชาติเกิดอากาศวิปริตแปรปรวนอยู่เสมอ สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย จึงมีผลให้พวกเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย เห็นตัวเองเป็นทาสของพระเจ้า    สังคมของชาวสุเมเรียนจึงยกย่องเกรงกลัวเทพเจ้าและถือเป็นหน้าที่หลักของทุกคนที่ต้องรับใช้เทพเจ้า      ความเชื่อดังกล่าวมีผลให้วัฒนธรรมสุเมเรียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา  ชาวสุเมเรียนนิยมสร้างวัดขนาดใหญ่  เรียกว่า    ซิกกูแรต ( Ziggurat )    เพื่อบูชาเทพเจ้า เป็น สถาปัตยกรรมคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่าง ๆ  สร้างด้วยอิฐตากแห้ง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่แวดล้อมด้วยบ้านเรือนและกำแพงเมือง




           ผลงานที่สำคัญ   รู้จักประดิษฐ์อักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม ( Cuneiform)  เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ  แทนความหมายของคำ เพื่อประโยชน์ทางด้านศาสนกิจ  เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุเมเรียน    วรรณกรรม   ที่สำคัญ คือ มหากาพย์กิลกาเมซ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของวีรบุรุษทีแสวงหาชีวิตอมต   มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ รู้จักการใช้จำนวนที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อย   เช่น เลขฐาน6,,60,360,600,3600  รู้จักวิธีคูณ หาร ยกกำลัง ถอดรากกำลังที่สอง และที่สาม การคำนวณหาพื้นที่ของวงกลม การกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด
อาณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonia)

            ชาวบาบิโลเนีย ของชาวอะมอไรต์  อารยธรรมที่บาบิโลเนียได้พัฒนามาจากอารยธรรมของชาวสุเมเรียน ซึ่งมีความเจริญมาก่อนเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว  อาทิ ประมวลกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งยึดหลักเเบบตาต่อตาฟันต่อฟันในการลงโทษ การปกครองของบาบิโลเนียมีลักษณะเเบบศูนย์รวมอำจ  ประมาณ1,200 BC.  อาณาจักรบาบิโลเนีย ถูกชาวคัสไซต์ เเห่งเทอกเขาซากรอสเข้ายึดครองนาน 400 ปี ก่อนจะถูกชาวอัสซีเรียนเข้ามาปกคาองเเทนที่
http://writer.dek-d.com/fern40492/story/viewlongc.php?id=669266&chapter=1

จักรวรรดิอัสซีเรีย  ชาวอัสซีเรียนเป็นนักรบเผ่าเซเมติกกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้อาวุธทำด้วยเหล็กยกทัพเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน สร้างจักรวรรดิอัสซีเรีย มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์   ศิลปะของชาวอัสซีเรียนิยมทำเป็นภาพสลักนูนต่ำเล้าเรื่องชีวิตประจำวันหรือเหตุการณ์สำคัญ ความเจริญสูงสุดด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่ในสมัยพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล โดยมีการรวบรวมเเผ่นจารึกผลงานของราชบัณฑิตไว้ในห้องสมุดเมืองนิเนเวห็มากถึง 20,000 เเผ่น

   
อาณาจักรคาลเดีย  ( Chaidea ) หรือบาบิโลเนียใหม่  
อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์  สามารถยกทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเลม  และกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรงุบาลิโลน มีสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส  และเหนือพระราชวังมีการสร้างสวนขนาดใหญ่ เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลเนีย  ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณเพราะสามารถใช้ความรู้ทางชลประทาน ทำให้สวนลอยเขียวขจีตลอดทั้งปี มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7  วัน      แบ่งวันออกเป็น 12   คาบ   คาบละ 120   นาที สามารถคำนวณเวลาโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีอย่างถูกต้อง  พยากรณ์สุริยุปราคา  ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำเอาความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์ ต่อมาอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของพระเจ้าไซรัสมหาราช เข้ายึดครองและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย 


ศิลปวัฒนธรรมในลุ่มเเม่น้ำไนล์ 
                 อาณาจักรอียิปต์เป็นอาณาจักรที่มีการเริ่มต้นเเละสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมได้ยาวนานเเละมีเอกภาพหลายพันปี เนื่องจากมีความเหมาะสมทางด้านของที่ตั้งอันอุดมสมบูรณ์เเละมีปราการธรรมชาติมั่งคง  ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองต์ ชาวอียิปต์เชื่อว่า เทพเจ้าเป็นผู้เมตตาเเละยกย่องฟาโรห์เสมอเทพเจ้า คำสั่งของฟาโรห์จึงศักดิ์สิทธิ์เเละถือเป็นกฎหมาย ชาวอียิปต์นิยมสร้างปิรามิด เพื่อบรรจุศพเจ้านายเเละขุนนาง เนื่องจากเรื่องการฟื้นคืนชีพเเละชีวิตอมตะ ปิรามิดสำคัญคือ The Great Pyramid of Giza  อุทิศเเด่ฟาโรห์คีออปส์ สูง 150 เมตร
ความเจริญด้านอักษรศาสตร์ของอียิปต์  ชาวอียิปต์ประดิษฐ์อักษรภาพเรียกว่า อักษรไก่เขี่ย หรืออักษรเฮีโรกลิฟฟิก เพื่อบันทึกเรื่องราวของศาสนาเเละวิทยาการ
http://www.thaigoodview.com/node/19886

-----------------------------------------------------------------

บทที่3.............ศิลปะวัฒนธรรมตะวันตกยุคคลาสสิก

ศิลปวัฒนธรรมกรีก
       ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมกรีกย้ายมาสู่นคเอเธนส์ (Athens)  ในแคว้นแอตติกะ สถาปัตยกรรม วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การแพทย์ และปรัชญาเกิดขึ้นในเวลารวดเร็ว  เอเธนส์และนครรัฐกรีกอื่น ๆ ผนึงกำลังเพื่อทำสงครามกับเปอร์เซีย  ผลของสงครามทำให้เอเธนส์กลายเป็นผู้นำรัฐต่าง ๆ ของกรีกรอบทะเลอีเจียน มีความเจริญสูงสุดจนเรียกว่า ยุคทองแห่งเอเธนส์   ความมั่งคั่งของเอเธนส์ได้นำเข้าสู่สงครามเพโลพอนนีเซียน ( Pelonnesian  War 431 – 404  ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นสงครามระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา เนื่องจากขณะนั้นสปาร์ตาเป็นนครรัฐทหารและเป็นคู่แข่งที่สำคัญในการแย่งชิงอำนาจเพื่อเป็นผู้นำของกรีกสงครามเพโลพอนนีเซียนนำมาสู่ความเสื่อมของนครรัฐกรีก เปิดโอกาสให้มาซิดอน ( Macedon ) อาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่า ขยายอำนาจครอบครองนครรัฐของกรีกในรัชสมัยพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช หรือเรียกว่า ยุคเฮลเลนิสติก ( Hellenistie Age ) กรีกสามารถขยายดินแดนครอบคลุมเอเชียไมเนอร์ เปอร์ซีย  อินเดียในยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองนี้ศิลปวัฒนธรรมของกรีกได้เจริญแพร่หลายไปทั่ว มีการจัดตั้งเมืองอะเล็กซานเดรีย(Alexandria )  ในอียิปต์เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและศิลปวัฒนธรรมกรีก
มรดกที่สำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรมของกรีก

  
 สถาปัตยกรรม  สมัยคลาสสิก เป็นแบบนครรัฐไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข เน้นการสร้างวิหารสำหรับเทพเจ้า  เทพเจ้าของกรีกกับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เชื่อว่าพลังลึกลับที่มีอยู่ตามธรรมชาติสามารถให้คุณและโทษได้ วิหารที่กรีกสร้างไว้บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ นิยมสร้างบนดินหรือภูเขาเล็ก ๆ  เรียกว่า อะครอไพลิส  วิหารที่สำคัญคือ วิหารพาเธนอน ที่อะครอไพลิสในนครเอเธนส์ สร้างด้วยหินอ่อน หลังคาหน้าจั่วมีเสาหินเรียงราย   โครงสร้างได้สัดส่วนและสมดุลกัน และไม่ประดับตกแต่งมากเกินไป แบบก่อสร้างของสถาปัตยกรรมกรีกแตกต่างกันไปตาม
ลักษณะหัวเสา แบ่งออกเป็น 3  ประเภท คือ
แบบดอริก ( Doric ) เป็นแบบดั่งเดิม ตัวเสาส่วนล่างใหญ่และเรียวขึ้นเล็กน้อย ตามลำเสาแกะเป็นทางยาว ข้างบน
มีหินปิดวางทับอยู่ สถาปัตยกรรมแบบดอริกเน้นความงามที่เรียบ แต่ให้ความรู้สึกมั่งคงแข็งแรง วิหารพาร์เธนอนเป็นสถาปัตยกรรมแบบดอริก
แบบไอออนิก ( Ionic )เสามีลักษณะเรียวกว่าแบบดอริก แผ่นหินบนหัวเสาเปลี่ยนจากแบบเรียบมาเป็นม้วนย้อยออกมาสองข้าง มีลักษณะงามแช่มช้อยมากขึ้น
แบบโครินเธียน ( Corinthian )  ดัดแปลงจากไอออนิก ลักษณะเสาเรียวกว่าแบบไดโอนิก หัวเสาตกแต่งเป็นรูปใบไม้ มีความหรูหรามากกว่า 

 ประติมากรรมของกรีกโบราณ
1.       นิยมใช้หินอ่อนในการสลักเสลารูปร่างและเสื้อผ้าให้เหมือนจริง
2.       นิยมสลักรูปทั้งที่เกี่ยวกับศาสนาและชีวิตประจำวันของคนโดยทั่วไป
3.       นิยมแสดงสรีระของมนุษย์ตามธรรมชาติตลอดจนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ  เช่น รูปสลักนักขว้างจักร
จิตรกรรม    ยุคแรก    จิตกรรมบนภาชนะของใช้ต่าง ๆ ที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผา ภาพที่นิยมวาดเป็นรูปสัตว์และคน
สมัยคลาสสิก   รูปวาดและสีพื้นจะสลับสีกัน มีชื่อว่า แจกันลวดลายคนสีแดง  สมัยเฮลเลนิสติก    กรีกได้ค้นพบเทคนิคใหม่ในการวาดภาพประดับฝาผนังขนาดใหญ่โดยใช้หินหรือกระเบื้องสีมาประดับเรียกว่า โมเสก ( mosaic ) มีความคงทนถาวร ภาพโมเสกได้รับความนิยมมาก และได้ถ่ายทอดต่อไปยังโรมัน ความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าของชาวกรีกมีผลต่อการสร้างสรรค์งาน การแสดงละครจะแพร่หลายในสมัยคลาสสิกเป็นบทละครประเภทโศกนาฎกรรม และสุขนาฎกรรม นักแสดงเป็นชายทั้งหมด ทุกคนสวมหน้ากากและมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง ส่งเสียงประกอบ เวทีการแสดงเป็นโรงละครกลางแจ้งมีอัฒจันทร์ล้อมรอมสามารถบรรจุผู้ชมได้ 10,000 คน  วรรณกรรม
 มหากาพย์อิเลียด (Iliad ) และออดิซีย์ ( Odyssey )  ของมหากวีโฮเมอร์ ที่ได้รับการยกย่องในแง่ของโครงเรื่อง ความไพเราะ จินตนาการ ตลอดจนอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม นอกจากนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาและประวัติศาสตร์ ได้แก่ งานประเภทปรัชญานิพนธ์ของโซเครตีส  เพลโต อาริสโตเติล  เฮโรโดตัส และธูซิดิดีส
 อารยธรรมกรีกปรากฏครั้งแรกที่เกาะครีต  ( Crete ) ในทะเลอีเจียน เมื่อประมาณเกือบ 2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  อารยธรรมดังกล่าวเรียกว่า อารยธรรมไมนวน ระยะนี้เรียกว่า สมัยวัง ที่ชาวเกาะครีตหรือพวกครีตันจะใช้ความรู้ความสามารถในการก่อสร้างและขยายวังให้ใหญ่โต วังที่สำคัญคือ วังนอสซัส ก่อสร้างสูงหลายชั้น ประกอบด้วยห้องโถงขนาดใหญ่ มีห้องเก็บน้ำมันมะกอกและเหล้าองุ่นที่บรรจุไหขนาดใหญ่   มีห้องน้ำ  ระบบน้ำประปา  รู้จักระบบชักโครก   ต่อมาเกาะครีตถูกรุกรานจากพวกไมซิเนียน  จากผืนแผ่นดินใหญ่ ทำให้อารยธรรมไมนวนได้รับการเผยแผ่ต่อไป  โดยพวกไมซีเนียนโดยมีศูนย์กลางความเจริญที่ไมซิเนแทน  กลายเป็นอารยธรรมไมซิเนมีอายุยาวนานก่อนถูกพวกอดเรียน ( Dorian)   ซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่าหนึ่งเข้ารุกรานพวกดอเรียนได้ปล้นสะดมเผาผลาญทำลายบ้านเมืองของไมซิเน ทำให้อารยธรรมในบริเวณทะเลอีเจียนยุติลงชั่วคราวระหว่าง 1120  800 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถือเป็นยุคมืดของอารยธรรมกรีก  การค้าตกเป็นของ พวกฟีนีเซียน  ชาวกรีกเป็นผู้ไม่รู้หนังสือ เมื่ออารยธรรมกรีกฟื้นต้องไปยืมอักษรอัลฟาเบตจากพวกฟีนีเซียนมาดัดแปลงในการเขียนหนังสือของตน ในช่วงยุคมืดมีการประพันธ์วรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่อง  มหากาพย์อิเลียน ( lliad ) และออดิซีย์ (Odyssey ) ของมหากวีโฮเมอร์ ( Homer)  เป็นเรื่องราวกับผจญภัยของวีรบุรุษกรีก  ถือว่าเป็นเอกสารกึ่งประวัติศาสตร์  การปกครองของกรีกหลัง  800  ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือที่เรียกว่า  ยุคคลาสสิก  ( Classical Age ) มีลักษณะเป็นนครรัฐ ( City – state ) ชาวกรีกนิยมเรียกว่า โพลิส ( Polis)  ทุกนครรัฐมีอำนาจเป็นอิสระและมีการปกครองที่แตกต่างกัน  ต่อมานครรัฐต่าง ๆ   หันมาปกครองแบบประชาธิปไตย โดยให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ราษฎรที่เป็นผู้ชายที่อายุบรรลุนิติภาวะและเป็นพลเมืองของนครรัฐ  ส่วนผู้หญิง  คนต่างด้าว  ทาส  ไม่มีสิทธิ  อุดมการณ์ประชาธิปไตยของกรีกนับกว่าเป็นมรดกที่สำคัญที่ถ่ายทอดให้แก่โลกตะวันตก


 ศิลปวัฒนธรรมโรมัน
                 
                บริเวณที่ตั้งของกรุงโรมมีพวกอิทรัสกันครอบครองได้รับอารยธรรมของกรีก และเอเชียไมเนอร์ พวกอิทรัสกันมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์ อพยพเข้ามาในแหลมอิตาลีได้นำความเชื่อในศาสนาของกรีก ศิลปะการแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา  อักษรกรีก   การหล่อทองแดงและบรอนซ์ การปกครองแบบนครรัฐ  การวางผังเมือง  การสร้างอาวุธ เข้ามาเผยแพร่ ในบริเวณแหลมอิตาลียังเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพจากเผ่าอื่น ๆ ได้แก่ พวกละตินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโรมันในแถบที่ราบละตินทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ มีอาชีพเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกจากบัลลังก์และจัดตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ  แต่อำนาจการปกครองตกเป็นของชนชั้นสูง เรียกว่า พวกเเพรททรีเชียน  พวกราษฎรสามัญหรือเพลเบียน ไม่มีสิทธิใดในสังคมและการเมือง  ความขัดแย้งระหว่างพวกพาทรีเซียนและเพลเบียนนำสู่การต่อสู้ระหว่างชนชั้นทั้งสองและการออกประมวลกฎหมายฉบับแรกของโรมัน เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ ( Law of the Twelve  Tables )  เพื่อใช้บังคับให้ชาวโรมันทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบเดียวกันของกฎหมายและสังคม   นับเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่ถือว่าเป็นแม่บทของกฎหมายโลกตะวันตก   ( โรมันรับมาจากเปอร็เซีย  )โรมันทำสงครามพูนิก กับพวกคาร์เทจที่ตั้งอาณาจักรบริเวณเหนือของทวีปแอฟริกา คาร์เทจเป็นฝ่ายแพ้ต้องสูญเสียอาณาจักรเปิดโอกาสให้โรมันเป็นเจ้าเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผูกขาดการค้าระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์ มีฐานะมั่งคั่งและมีอำนาจปกครองดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมันได้ยุติการปกครองในระบอบสาธารณรัฐและหันมาใช้การปกครองแบบจักรวรรดิอย่างเป็นทางการ ออคเทเวียน ( Octavian )  ได้รับสมญานามว่า ออกัสตัส ( Augustus ) และสภาโรมันยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ  พระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน  โรมันเจริญสูงสุดและสามารถขยายอำนาจและอิทธิพลไปทั่วทั้งทวีปยุโรป มีการสร้างถนนทั่วไปเพื่อสะดวกในการลำเลียงสินค้าและทหารตลอดจนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในแขนงต่าง ๆ   ในคริสคต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันได้อ่อนแอกรุงโรมถูกพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันหเข้าปล้นสะดมหลายครั้ง จักรพรรดิของโรมันองค์สุดท้ายถูกอนายรชนขับออกจากบัลลังก์ ค.ศ. 476 ถื
 มรดกที่สำคัญทางด้านศิลปกรรมวัฒนธรรมของโรมัน
              ชาวโรมันรับอารยธรรมกรีกทั้งทางตรงและทางอ้อม  ชาวโรมันจะด้อยกว่าชาวกรีกในเชิงจินตนาการ ( ปรัชญา ) แต่โรมันมีความเฉลียวฉลาดในการดัดแปลงสอดคล้องถึงความต้องการของสังคมโรมันและระบอบการปกครองของประเทศชาวโรมันจะเป็นนักปฏิบัติมากกว่าชาวกรีก   ชาวโรมันไม่นิยมสร้างวิหารขนาดใหญ่ถวายเทพเจ้าอย่างกรีก  แต่กลับสร้างอาคารต่าง ๆ   เพื่อสนองความต้องการของรัฐและประโยชน์ใช้สอยของสาธารณชน ตลอดจนความมีระเบียบวินัยวินัยและความรับผิดชอบ   เช่น สร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่จุผู้คนได้ถึง 67,000  คน เรียกว่า โคลอสเซียม เพื่อความหย่อนใจองประชาชน สถานที่อาบน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ ออกกำลังกาย  อ่านหนังสือ  ประตูเมือง  ท่อส่งน้ำ  ถนน  สะพานขนาดใหญ่ 
สถาปัตยกรรม จะเน้นความใหญ่โต แข็งแรง ทนทานโรมันได้พัฒนาเทคนิคในการออกแบบก่อสร้างของกรีกเป็นประตูโค้ง    เพดานหลังคาโค้ง ( รูปโดม )  ผนังก่ออิฐถือปูน  กลายเป็นแบบอย่างในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในยุโรปสมัยกลาง
ประติมากรรม  บุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ มีสัดส่วนงดงามเหมือนกรีก   แต่โรมันจะพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนของบุคคลสำคัญ ๆ เช่น จักรพรรดิ นักการเมืองโดยเฉพาะในท่าครึ่งท่อนบน ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสามารถทำให้หินอ่อนแกะสลักนั้นดูมีชีวิต อีกทั้งสะท้อนบุคลิกภาพของบุคคลที่เป็นแบบอย่างสมจริงที่สุด
นอกจากนี้ชาวโรมันยังได้แกะสลักภาพนูนต่ำ  เพื่อบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อสดุดีวีรกรรมของนักรบ
ด้านการประพันธ์  ระยะแรกบันทึกพงศาวดาร ตัวกฎหมายต่าง ๆ ตำราทหาร และการเกษตรกรรม    งานประพันธ์ของกรีกมีสีสันและจินตนาการที่กว้างไกล เช่น เรื่องเทพปกรณัม หรือประเภทปรัชญาลึกซึ้ง  แต่งานประพันธ์ที่เป็นของโรมันแท้ ๆ จะมีวัตถุประสงค์ที่จะรับใช้จักรวรรดิของตน  งานประเภทนี้จะสดุดีความยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน  เช่น งานเขียนของเวอร์จิล  เรื่อง อิเนียด เป็นมหากาพย์ว่าด้วยความเป็นมาของกรุงโรม สอดแทรกคำสั่งสอนเกี่ยวกับหน้าที่และความจงรักภักดีต่อจักรวรรดิ งานประวัติศาสตร์เน้นความยิ่งใหญ่ของโรม เช่น งานเขียน เรื่อง บันทึกสงครามกอลประวัติศาสตร์กรุงโรม งานเขียนเกี่ยวกับ อนารยชนเรื่อง เยอรมาเนีย ของ ทาซีตุส ซึ่งยังนิยมอ่านและศึกษากัน
มรดกที่ยิ่งใหญ่ของโรมัน   ได้แก่  กฎหมายสิบสองโต๊ะเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ชาวโรมันอย่างเท่าเทียมกัน  ประมวลกฎหมายโรมันนี้เป็นรากฐานของประมวลกฎหมายของประเทศต่าง ๆ  เช่น  อิตาลี  ฝรั่งเศส  สเปน  ญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตามชาวโรมันประสบผลสำเร็จน้อยที่สุด คือ  เลขคณิต  สำหรับอาหรับมุสลิมจะถ่ายทอดวิทยาการตะวันออกให้แก่ยุโรป
ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกแบบไบแซนไทน์


กำเนิดของจักรวรรดิไบแซนไทน์


    จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ถือกำเนิดจากการที่จักรพรรดิไดไอเคลเตียน (ศ.ค. 285-305 ) ทรงดำริว่าจักรวรรดิดรมันอันมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลควรมีการปกครองแบบ Tetrarch คือ แบ่งศูนย์กลางทางการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จักรวรรดิดรมันตะวันตากกับจักรวรรดิโรมันตะวันออก

การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์


    จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกมีการปกครองแบบเอกาธิปไตย (Autocrat) โดยจักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งด้านการปกครองจักรวรรดิและทางศาสนา เพราะทรงเป็นตัวแทนแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย ทรงดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุดในจักรวรรดิ
    จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีอายุยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 330-1453 เนื่องมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมคล้ายป้อมปรากการมีเทือกเขาถึงเจ็ดเทือกและแม่น้ำล้อมรอบทำให้ยากต่อการเข้าตี
    ปัญหาสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจ คือ ความขัดแย้งภายในทางศาสนา จนไม่สามรรถต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิมุสลิมในเอเชียไมเนอร์ และแอฟริกาได้ ความอ่อนแอของสถาบันจักรพรรดิในชั้นหลังก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครองในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15

จักรวรรดิไบแซนไทน์และคริสต์ศาสนา


    สถาบันคริสต์ศาสนาของโรมันตะวันตกมีความแตกต่างจากโรมันตะวันออกหลายด้านทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิดลกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาแบบ Christian Hellenism ซึ่งต่อมาในศตวรรษที่ 11 ได้กลายเป็นนิกายออร์โธดอกซ์ กับคำสอนในคริสต์ศาสนาที่ผ่านการตีความของจักรพรรดิคอนสแตนตินทำให้นิกายนี้เชื่อว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า
    ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดลำดับเมืองสำคัญทางศาสนาเป็น 5 เมือง คือ โรม คอนสแตนติโนเปิล อเล็กซานเดรีย แอนดิออชและเยรูซาเล็ม
การเกิดนิกายกรีกออร์โธดอกซ์และโรมันคาธอลิก


    ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 จักพรรดเลโอที่ 3 ทรงยกเลิกการเคารพบูชารูปเคารพและรูปปั้นทั้งในโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตกทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย เป็นเหตุให้สถาบันจักรพรรดิสูญเสียอำนาจ ก็ไม่สามารถฟื้นฟูอำนาจของสถาบันจักรพรรดิได้สำเร็จ และแยกกันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ 1054
จักรวรรดิไบแซนไทน์และความสำคัญที่มีต่อโลกตะวันตก
    กฎหมายและการปกครองมีการรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่
  • Code คือ บรรดากฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณ
  • Diges คือ ประมวลความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายต่าง ๆ
  • Institute คือตำรากฎหมาย
  • Novelsคือภาคผนวกของ Code และประมวลความเห็นของจักรพรรดิสมัยต่าง ๆ


ประมวลกฎหมายสำคัญเป็นของจักรพรรดิจัสติเนียน เรียกว่า Corpus Juris Civilis หรือ Justinian Code ซึ่งมีการปรับปรุงมาโดยตลอด และยังคงมีอิทธิพลต่อวีถีชีวิตของชาวยุโรปตะวันออกในปัจจุบัน
ศิลปวิทยาการไบแซนไทน์
     จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้สืบทอดผสมผสานศิลปะวิทยาการของโลกคลาสสิกและโลกมุสลิมให้เข้ากับคริสต์ศาสนาไว้ได้ครบถ้วน
    ทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น จอห์น เดอะ เกรมาเรียน เสนอทฤษฎีเรื่องความเร็วของวัตถุในสุญญากาศมิได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุนั้น ๆ นอกจากนี้ซีโมนเสธ
    ทางด้านศิลปะนั้น  จักรวรรดิไบแซนไทน์ไดผสมผสานรูปแบบศิลปะกรีกโรมันและเปอร์เซียอย่างกลมกลืน เป็นคลังด้านศิลปวิทยาการของกรีกโรมันและโลกมุสลิมที่ถ่ายทอดแก่โลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 ตามลำดับ

ศาสนา
    ศาสนาในจักรวรรดิไบแซนไทน์พัฒนามาจากคริสต์ศาสนาแบบกรีกนิยมมีผลทำให้ศาสนาคริสต์แยกออกเป็นสองนิกาย คือ กรีกออร์โธด็อกซ์นับถือกันในยุโรปตะวันออกและโรมันคาธอลิกนับถือในยุโรปตะวันตกอย่างเด่นชัน
ศาสนาอิสลามกับอารยธรรมตะวันตก
     ศาสนาอิสลามหรือศาสนาของพวกชาราเซน  เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายแห้งแล้งและเป็นถิ่นฐานของชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ และชาวเบดูอิน

ศาสดามะหะหมัด
 ศาสดามะหะหมัดเกิดในตระกูลพ่อค้าวงศ์กูไรซิด เมื่อโตขึ้นได้คุมคาราววานค้าขายแล้วแต่งงานกับหญิงหม้าย การเดินทางทำให้มีวิสัยทัศน์ จากการพบพ่อค้าชาวฮิบรู ชาวคริสต์และพ่อค้าที่นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ ครั้นอายุ 40 ปี ก็ประกาศตัวเป็นศาสดาพยากรณ์องค์สุดท้ายเพื่อเผยแพร่คำสอนของพระอัลหล่าห์
ศาสนาอิสลามสอนเรื่องการนอบน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อ อดกลั้น สามัคคีรักใคร่ฉันท์พี่น้องและอุทิศชีวิตเพื่อศาสนา เป็นต้น ศาสนาอิสลามแบ่งเป็น 3 นิกาย คือ
  • นิดายสึกนี่
  • นิดายชิอะห์
  • นิกายซูฟีร์


การขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิม
    หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมะหะหมัดใน ค.ศ. 632  จักรวรรดิมุสลิมมีการการปกครองโดยมีกาหลิบ และมีการแย่งชิงอำนาจดดยเชื้อพระวงศ์ของพระมะหะหมัดฝ่ายบิดาของมเหสีแต่ตอนหลังมีนายพลผู้หนึ่งชิงอำนาจไปแล้วตั้งราชวงศ์อุมัยยาร์ด ส่วนราชธานีของจักรวรรดิมุสลิมย้ายไปยังเมืองดามัสกัส ทำให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิมุสลิมเปลี่ยนจากคาบสมุทรอารเบียเป็นบริเวณแถบเมดสโปเตเมีย จากนั้นเข้าไปในยุโรปก่อตั้งอาณาจักรมุสลิมในสเปนอิตาลีตอนใต้และแอฟริกาตอนเหนือ

อารยธรรมมุสลิม
    ระหว่างคริสต์ตวรรษที่ 5-11 ยุโรปตะวันตกกำลังอยู่ในยุคกลาง แต่จักรวรรดิมุสลิมกลับเจริญก้าวหน้าอย่างมากมายและมีส่วนสำคัญในการเสริมความก้าวหน้าของจักรพรรดิไบแซนไทน์อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรปตะวันตกในเวลาต่อมาด้วย


ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยกลาง

ความหมายของยุคกลาง (ค.ศ. 410 – 1494)
    ยุคกลางเป็นยุคมืดแห่งศิลปะวิทยาการ นักคิดในยุคฟื้นฟูสิลปวิทยาการ (คริสต์ศตวรรษที่ 15) และนักคิดแห่งสำนักฟิโลซอฟ (The Philosophes) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีวอลแตร์ (Francois Voltaire) เป็นผู้นำเสนอว่ายุคกลางเป็นยุคที่ยุโรปหยุคนิ่งทางศิลปะวิทยาการ และอยู่ระวห่างความเจริญของโลกคลาสสิกกับความรุ่งเรืองของยุโรปสมัยใหม่ซึ่งเริ่มต้นเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลายจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (ต้นคริสศตวรรษที่ 5-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15)

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของยุคกลาง
        ยุคกลางตอนต้น เป็นยุคแห่งความสำเร็จพวกนอร์ธแมน เป็นยุคแรกของสังคทมศักดินาซึ่งทำให้เกิดการชะงักงันทางปัญญาไร้กฎระเบียบ วินัยและมีการผสมผสานกันของศาสนาคริสต์กับอารยธรรมกรีก-โรมัน
  ยุคกลางช่วงรุ่งเรือง เป็นยุคทองของสังคมศักดินาและสถาบันศาสนา คริสตจักรและอาณาจักรอยู่ภายใต้การชี้นำของพระสันตะปาปามีการฟื้นฟูปรัชญาของอริสโตเติลทำให้สังคมฟื้นตัวทางปัญญาและเศรษฐกิจ
  ยุคกลางตอนปลาย เป็นยุคเสื่อมของสถาบันศาสนาและระบอบศักดินา มีการสร้างรัฐประชาชาติและยอมรับอำนาจกษัตริย์สนใจปรัชญากรีก-โรมัน นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการความก้าวหน้าทางแพทย์




สังคมยุคกลาง
    Manor เป็นหน่วยปกครองทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจระดับพื้นฐานในยุคกลางเชื่อมดยงเจ้าที่ดิน (Lord) กับประชากรเอาไว้ การปกครองนี้เรียกว่าระบบ Manorialism

การเมืองยุคกลาง
  หลังการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อนารยชนเผ่าเยอรมันได้ตั้งอาณาจักรเล็ก ๆ ทั่วไปในยุโรปใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 ดังนี้
    พวกวิซิกอธ รุกเข้าตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือของสเปน ก่อตั้งแคว้นอาควิเตน มีตูลูสเป็นเมืองหลวง 
    อำนาจของชนเผ่าเยอรมันมาจากการใช้คมหอกสั้นปลายแคบและเครื่องมือเหล็กเพราะปลุกไม่รู้จักใช้เงินชอบการต่อสู้ กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดมากจากการเลือกตั้งยกย่องเพศหญิงมากกว่าสังคมโรมัน เด็กชาย-หญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูเทียมกัน

คริสตศาสนา
    คริสต์ศาสนาเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ต้นคริสตกาลแต่ไม่ได้รับความนิยมต่อมาในปี ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ทำให้ชาวโรมันทิ้งลัทธิการบุชาเทพเจ้าและภูตผี การคุกคามของอนารยชนและการแย่งชิงอำนาจของผู้ปกครองจึงทำให้ชาวโรมันหันมานับถือคริสต์ศาสนา หลังจักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลง คริสต์ศาสนาเป็นสถาบันเดียวที่ยื่นหยัดได้ภาขใต้การนำของพระสันตปาปา แต่จักรพรรดิกลับหมดอำนาจสิ้นเชิง

อาณาจักรคาโรลินเจียน
    อาณาจักรคาโรลินเจียนพัฒนามาจากอาณาจักรเมโรวินเจียนในแคว้นกอล ซึ่งยอมให้พลเมืองนับถือศาสนาคริสต์ในปลายคริสต์ดศตวรรษที่ 5 ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 อำนาจของอาณาจักรเมดรวินเจียนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน
    อาณาจักรคาโรลินเจียนเริ่มเสื่อมลงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ทำให้อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามสัญญาแวร์ดัง  (the treaty of Verdun) คือ
    - ส่วนแรก จักรพรรดิ Lothair ปกครองอาณาจักรส่วนกลางได้แก่อิตาลี เบอร์กันดีอัลซาด ลอเรนท์ เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก
    - ส่วนที่สอง Louis the German ปกครองเยอรมัน
    - ส่วนที่สาม Charlethe Bold ปกครองฝรั่งเศส

การฟื้นตัวของเมือง
    ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันทำให้เมืองศูนย์กลางทางการค้าและศิลปวัฒนธรรมสิ้นสุดบทบาทาลงไปด้วยสำนักบาทหลวงและโบสถ์ในชนบทจึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแทนเมืองนานกว่า 500 ปี

สมาคมการค้าหรือสมาคมอาชีพล
    นอกจากนี้นักรบ นักคิด นักเขียนและอื่น ๆ ก็ต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตน แต่ละสมาคมก็มีระเบียบและจรรยาบรรณควบคุมสมาชิกให้ทำงานได้มาตรฐาน เช่นหากคนทำขนมปังทำขนมปังไม่ได้น้ำหนักก็จะถูกเอาขนมปังห้อยคอประจาน คนทำไวน์ผลิตไวน์ไม่มีคุณภาพก็ถูกบังคับให้ดื่มไวน์แล้วเอาส่วนที่เหลือราดตัว และสมาคมอาชีพยังกีดกันมิให้สมาชิกผลิตสินค้าอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ทำให้ขาดการคิดสร้างสรรค์สินค้าอื่นออกสู่ท้องตลาด ครั้งถึงสมัยกลางตอนปลายสภาวะเช่นนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความคิดเรื่องปัจเจกชนมาแทนที่

กำเนิดมหาวิทยาลัยในยุโรป
    มหาวิทยาลัยบางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และปัญญาชนกลุ่ม University อันเป็นองค์กรทางวิชาชีพในเมือง มหาวิทยาลัยบางแห่งขยายตัวมาจากโรงเรียนวัน บางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และนักศึกษาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแพร่หลายมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 มหาวิทยาลัยปารีสมีชื่อเสียงมากที่สุดทางตอนเหนือ มหาวิทยาลัยโบโลญยาในอิตาลีมีชื่อเสียจงที่สุดทางตอนใต้
    ด้านการเรียนการสอนนั้น มหาวิทยาลัยยังไม่มีอาคารเรียน ห้องสมุดหรืออุปกรณ์จึงต้องใช้โบสถ์หรือห้องโถงของมหาวิหารหรือห้องเช่าเพื่อการเรียนทำให้อาจารย์และนักศึกษามักย้ายมหาวิทยาลัยไปยังต่างเมือง เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าเช่าสถานที่อาหาร

สงครามครูเสด
    ความขัดแย้งระหว่างคริสต์กับอิสลามตั้งแต่ต้นคริสศตวรรษที่ 7 เป็นสาเหตุของสงครามครูเสด เมื่อชาวมุสลิมรุกรามและยึดครองยุโรปบางส่วนทำให้ชาวคริสต์ขัดขวางการขยายตัวของศาสนาอิสลามซึ่งชาวคริสต์ถือว่าเป็นภัยต่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์
    สงครามครูเสดเกิด 9 ครั้ง การรบครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1096-1099 เท่านั้นที่เกิดจากศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระจ้าไม่มีเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องทำให้นักรบครูเสดสามารถยึดครองกรุงเยรูซาเล็มและจัดระบบการผกครองแบบฟิวดัลที่เยรุซาเล็มได้แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกผลักดันกลับในสงครามครูเสดครั้งที่ 2

ผลกระทบของสงครามครูเสด
    ผลจากสงครามทำให้ชาวคริสต์เปิดรับความรู้ภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติกับชาวตะวันออกอย่างกว้างขวางส่งผลให้การค้าเจริญเติบโตขึ้นอาทิ สินค้าประเภทผ้าฝ้ายฯลฯ และกระตุ้นให้มีการเร่งผลผลิตทางเกษตรกรรมและหัตถกรรมเมื่อชาวยุโรปนำวิทยาการกลับมาเผยแพร่จึงก่อให้เกิดความตื่นตัวทางการศึกษาและศิลปะทำให้ระบบฟิวดัลและระบบแมนเนอร์ซึ่งปิดกั้นเสรีภาพและความสามารถของปัจเจกชนถูกทำลาย

วรรณกรรมสมัยกลาง
    วรรณกรรมสมันกลางมีทั้งวรรณกรรมทางโลกและทางศาสนา
วรรณกรรมทางศาสนาเขียนเป็นภาษาละติน งานชิ้นหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนสมัยกลางมาก คือเทวนคร โดยนักบุญเขียนตั้งแต่ปลายสมัยโรมัน กล่าวถึงการสร้างโลกและกำเนิดของมนุษย์ การไถ่บาปและการพิพากษาครั้งสุดท้ายก่อนที่มนุษย์จะกลับไปสู่ดินแดนของพระเจ้า

การเสื่อมอำนาจของศาสนาจักร
    ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุดพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3ทรงมีฐานเป็นประมุขทั้งทางโลกและทางธรรมจากการที่ทรงใช้อำนาจครอบงำเหนืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งกษัตริย์และขุนนางในยุโรปตะวันตกต่างก็เชื่อฟังพระองค์
    การแตกแยกทางศาสนาเป็นเหตุให้ศาสนจักรเสื่อมอำนาจและศรัทธาสังคมยุโรปจึงเปิดโอกาสให้พวกนกรีตแม่มด หมดผีเข้ามีบทบาทต่อชีวิตชาวเมืองสังคมยุโรปจึงเน่าเฟะจึงเป็นที่มาของการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16



                ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและสมัยบารอค-รอคโคโค

    สมัยการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม วัฒนธรรมเศรษฐกิจและการเมืองเกิดขึ้นก่อนในอิตาลีก่อน จากนั้นก็เผยแพร่ไปทางยุโรปตอนใต้ ได้แก่ ฝรั่งเศสเยอรมนีตอนใต้ และสเปน ส่วนยุโรปทางเหนือนั้นรับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงจากอิตาลีเช่นกันแต่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด และข้อปฏิบัติทางคริสต์ศาสนา

สาเหตุที่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเกิดขึ้นก่อนในอิตาลี
    ประการที่หนึ่ง    สภาพทางภูมิศาสตร์ อิตาลีเป็นที่ตั้งของกรุงโรม ศูนย์กลางของอารยธรรมโรมัน
    ประการที่สอง     สงครามครูเสด ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานร่วมสองศตวรรษตลอดเวลาของสงคราม
    ประการที่สาม    ความเสื่อมโทรมของสถาบันทางคริสต์ศาสนาฝ่ายบริหารขององค์กรศาสนา ประพฤติตัวเหลวแหลกเป็นส่วนใหญ่
    ประการสุดท้าย    สภาพเศรษฐกิจและสังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ชาวอิตาลีค้าขายของจนร่ำรวยแล้วก็พยายามมหาทางเข้าไปมีบทบาททางการปกครอง

ลักษณะศิลปวัฒนธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
       ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงสุดชนชั้นกลาง คือ พ่อค้าเป็นกลุ่มที่ควบคุมทั้งด้านการ ปกครอง การเมือง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ศิลปะทุกด้านนิยมความสวยงามตามแบบกรีก-โรมันแม้อิทธิพลของศิลปะกอธิกและไบแซนไทน์จะมีอยู่บ้างแต่ศิลบปกินอิตาเลียนได้นำศิลปะแบบกรีก-โรมันมาเป็นแม่แบบแล้วเพิ่มเทคนิคใหม่ ๆ 
เป็นสมัยที่ภาษาและวรรณคดีมีแบบแผนสมบูรณ์สละสลวยตามแบบภาษาและวรรณคดีกรีก-โรมัน ชนชั้นกลางโดยทั่วไปนิยมศึกษาวรรณคดีกรีและภาษีละติน
เน้นแนวความคิดตามอุดมการณ์ของลัทธิมนุษย์กนิยม

ลักษณะของวรรณคดี
    การเปลี่ยนแปลงทางวรรณคดีจากสมัยยุคกลางมาสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้จะเริ่มจะเริ่มเห็นได้ชัดตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ลักษณะวรรณคดีในยุคนี้จะแตกต่างจากยุคกลางแทบจะโดยสิ้นเชิง
    ลักษณะคำประพันธ์ต่าง ๆ จะเลียนแบบคำประพันธ์ของกรีก-โรมันทุกด้านมีการพิมพ์บทประพันธ์ภาษากรีก-ละติน เป็นภาษาท้องถิ่นด้วยเรื่องราวเทพนิยายกรีกจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
    ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้นได้นำหลักการศิลปะกรีก-โรมัน มาผสมผสานเข้กับเทคนิคใหม่ ๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้แก่การจัดให้มี แสง เงา ช่องว่า และภาพี่แสดงการเคลื่อนไหวและเพื่อให้ภาพดูใกล้ความเป็นจริงศิลปินจึงได้เพิ่มภาพลวงให้เห็นส่วนลึกเข้าไปด้วย
    จุดเริ่มต้นของศิลปะเรอแนสซองส์เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะให้ต่างจากยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จากผลงานนิโคลา ปิซาดน ผู้ออกแบบและสร้างแท่นสวน วัดที่เมืองปิชา เป็ดภาพนูนเกี่ยวกับประวัติของพระเยชูโดยใช้รูปแบบและกลวิธีอย่างประติมากรรมกรีก-โรมัน ประติมากรรมดังกล่าวจึงมีชื่อเสียงและกลายบันดาลใจให้กับศิลปินเรอแนสซองส์ระยะต่อมา
    ศิลปะเรอแนสซองส์ส่งผลให้มีผู้อุปถัมภ์ศิลปินอย่างคึกคัก สภาวการณ์ดังกล่าวจึงกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแองเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแดงเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกและวิศวกรส่วนเลโอนาร์โด ดาวินซี ก็เป็นทั้งศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร

ศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ ยุครุ่งเรือง
    ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีผลงานส่วนใหญ่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ได้รับการยกย่องในสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองผลงานของดาวินชีเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
    นอกจากลีโอนาโด ดาวินชีแล้วศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองแล้วอัลเบรคท์ดูเรอร์ ศิลปินชาวเยอรมัน ก็ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผลงานสำคัญชิ่นหนึ่งคือภาพเหมือนศิลปิน จัดแสดงที่เมืองมิวนิคแต่ผลงานของเขากลับส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางแก่ศิลปินในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ยกเว้นเยอรมนี

การปฏิรูปศาสนา
    ในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14-15 สถาบันคริสต์ศาสนาประสบกับความท้าทายอำนาจอย่างมากจากหลายฝ่ายนอกจากพลังทางความคิดแบบปัจเจกชนนิยมแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมและการปกครองกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่สั่นคลอนอำนาจของศาสนาจักร
    กลุ่มที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงแก้ไขข้อ ปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาจักรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 
กลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน
กลุ่มของเจ้าหน้าที่ในองค์การศาสนาคริสต์

บทบาทของมาร์ติน ลูเธอร์
    เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์เริ่มงานปฏิรูปศาสนา จุดประสงค์ระยะแรกของเขาคือ ต้องการให้มีการจัดระบบการบริหารภายในสถาบันศาสนาใหม่โดยใช้ระบบผู้แทนแทนระบบการแต่งตั้งอีกทั้งต้องการให้มีการปฏิรูปศาสนาในระดับต่าง ๆ และลดความสำคัญของพระสันตปาปาในการแต่งตั้งและมีอำนาจเหนือพระราชาคณะใน ค.ศ. 1517 ลูเธอร์เสนอหลักการ 95 ประการ ติดประกาศที่บานประตูโบสถ์ ณ เมืองวิตเตนเบอร์ก โจมตีความเสื่อมทรามของศิลธรรมจรรยาของพวกพระและการปฏิพฤติปฏิบัติผิดในคริสต์ศาสนา

แนวคิดและหลักการของลูเธอร์
    หลักการปฏิบัติของลูเธอร์ที่แตกต่างจากองค์การคริสต์ศาสนาจักรมี 3 ประการ ดังนี้
ศรัทธาโดยความเชื่อไม่ใช่โดยการกระทำ 
อำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์คือสิ่งเดียวที่ตัดสินความถูกต้อง
คริสต์ศาสนิกชนทุกคนเป็นพระได้ทั้งนั้น

ความคิดทางการเมืองของลูเธอร์
    ในความคิดทางการเมืองลูเธอร์สนับสนุนอำนาจการปกครองสูงสุดของฝ่ายบ้านเมืองทั้งนี้เพราะลูเธอร์ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ไปมีส่วนรับผิดชอบในทางโลก เขายอมรับว่ารัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ของคนในบังคับที่ต้องเชื่อฟังฝ่ายปกครอง

แนวความคิดของจอห์น คาลแวง
การปฏิรูปศาสนามีผลโดยตรงต่อประเทศตะวันตก กล่าวคือได้แบ่งแยกคริสต์ศสนิกชนเป็น 2 นิกายคือ นิกายโรมันคาทอลบิกสนับสนุนพระสันติปาปาแห่งกรุงโรมก็แบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ จำนวนมาก
ก่อให้เกิดปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก หลังจากที่หลายประเทศในยุโรปมีการปฏิรูปศาสนาและยอมรับนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งฝ่ายคาทอลิกประมาณว่าเป็นการปฏิวัติต่อต้านอำนมาจสูงสุดที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นการปฏิวัติทางศาสนา

ผลการปฏิรูปทางศาสนาที่มีต่อโลกตะวันตก
    การปฏิรูปศาสนา ทำให้สังคมตะวันตกซึ่งเคยมีคริสต์ศาสนาเป็นศูนย์รวมของผู้คนหลายหลายชาติภายใต้ศรัทธาและความเชื่อเดียวกันเกิดความแตกแยกและหันไปนับถือคริสตศาสนานิกายต่าง ๆ และเกิดขันติธรรมทางศาสนาทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาปรับปรุงประเทศของตนแทนการยึดติดกับศาสนา จนเกิดแนวทางใหม่ในสังคมตะวันตกโดยที่ผู้ปกครองเป็นอิสระจากการครอบงำของศาสนาคริสต์ดังเช่นสมัยกลาง

ศิลปะบารอค
    ยุคบารอคกำเนิดขึ้นเป็นครั้-แรกที่ประเทศอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วยุโรประหว่าง ค.ศ. 1550-1750 เจริญสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1680-1730 ในช่วงนี้มีชื่อเรียกว่ายุคในทางศิลปะ ระยะเวลา 200 ปีตั้งแต่ช่วงปลายยุคเรอแนสซองส์ได้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะที่แปลกไปจากสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองทั้งจิตรกรรมประติมากรรมสถาปัตยกรรมวรรณกรรรมและคนตรีเรียกว่า ศิลปะบารอคคำว่า ลักษระที่ผิดเพี้ยนไปจากระเบียบวีคิดทางการสร้างสรรค์ต้นแบบ
จิตรกรรม
    จิตรกรรมสมัยบารอคเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาจิตรกรรมสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรือง โดยเน้นให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสงเงาเพื่อให้ดึงดูดความสนใจและความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ลักษณะเด่นอีกประการของจิตรกรรมบารอค คือ ภาพคนจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา

คาราวัคโจ
    คาราวัคโจ ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะว่า เป็นศิลปินสมัยบารอคคนแรก ที่ปูทางไว้ให้กับรูเบนส์ เรมบรานท์และเวอร์เมียร์ แม่นยำเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของคน มักจะเขียนภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา


เทคนิคแนวทางศิลปะของเรมบรานท์


    แทนที่จะเขียนภาพเพื่อเหตุผลทางศาสนาเขากลับกลับเขียนภาพที่มีเนื้อหาอื่นทำให้ภาพเขียนของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพเขียนที่ยิ่งใหญ่เทคนิคทางสิลปะที่เรมบรานท์ใช้คือความแตกแนเรื่องหลักกายวิภาคศาสตร์ ผสมผสานกับการจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆ ไว้ในความมืด และให้แสงสว่างจ้าเป็นจุดเน้นของภาพกระจายเป็นจุด ๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของเรมบรานท์ที่ส่งอิทธิพลแก่ศิลปินรุ่นหลังมากที่สุด
    ประติมากรรม ผลงานประติมากรรมสมัยบารอค มีลักษณะรูปแบบศิลปะที่แสดงองค์ประกอบอันวิจิตรอลังการเช่นเดียวกับจิตรกรรมแสดงท่วงท่าอย่างโลดโผนคล้ายการแสดงละคร
    เบอร์นินี เกิดในครอบครัวประติมากรมีชื่อเสียงเขาเป็นศิลปินทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมมีโอกาสสร้างงานชุดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพประประกอบด้วยภาพ
    ศิลปะโรโกโก ปารกฎในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นแบบอย่างศิลปกรรมอีกแบบหนึ่งของบารอค หรือเป็นผลจากพัฒนาการของศิลปะบารอค นักวิชาการบางท่านถือว่าเป็นศิลปะกลุ่มเดียวกับศิลปะบารอค
    จิตรกรรมรอคโคโค จิตรกรรมโรโกโกมีลักษณะไม่แตกต่างจากงานประดับประดาตกแต่งทั่วไป จิตรกรจะเน้นรายละเอียดในการประดิษฐ์ตกแต่งส่วนประกอบย่อยมากมาย หรูหรา เกินธรรมชาติเพื่อเน้นในเกิดความหลงใหลในบรรยากาศแห่งภาพนั้น ๆ
    ดนตรีคลาสสิก ศิลปะการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่าง ๆ  ตั้งแต่ดึงดำบรรพ์ในยุคกรีกและโรมันการดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ  และกิจการทางศาสนาโดยเริ่มมาการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรีในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด
    อุปรากร  ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงประเทสออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค และโมสาร์ท ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่
    กรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่น ๆ จำนวนมากในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรปนักดนตรีและคตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนักศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสุมส่ง

1 ความคิดเห็น: